Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุคมุสลิมยึดครอง พ.ศ.๑๗๐๐ - ๒๒๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India


พุทธศาสนายุคมุสลิมยึดครอง พ.ศ. ๑๗๐๐-๒๒๐๐
   (Buddhism in Muslim ruler's time B.E. 1700-2200)


๔.ราชวงศ์ขิลจิ (Khiljis dynasty) พ.ศ.๑๘๓๓ (ตุรกี)

     ๑. ชาลารุดดิน (Jalaruddin) ได้เป็นผู้ปกครองเดลลีโดยยึดอำนาจจากบัลบัน แต่ก็เป็นได้ไม่นานก็ถูกยึดอำนาจจากอเลาดิน ชาลารุดดิน ปกครอง จากพ.ศ.๑๘๓๓ จนถึง พ.ศ.๑๘๔๕ รวม ๑๒ ปี

     ๒. อเลาดิน (Alaudin) ได้อำนาจมาจากการฆ่าชาลารุดดิน พ.ศ. ๑๘๔๕ เป็นนักปกครองที่เข้มงวด ห้ามประชาชนดื่มเหล่า เล่นการพนัน ท่องเที่ยวรื่นเริง นักกวีอาหรับเกิดขึ้นในยุคนี้ เป็นอย่างมาก เขาปกครองจนถึง พ.ศ.๑๘๕๓ ก็ถูกฆาตกรรมโดยมาลิก กาฟูร์ (Malik kafur) นายพลของเขาเอง

๕.ราชวงศ์ตุกลัค (Tuglaq dynasty) พ.ศ.๑๘๕๓ (ตุรกี)

size="2" face="Tahoma">     ๑.โมหัมหมัด ตุกลัค (Muhammad Tuglaq) ขึ้นปกครองบัลลังก์เดลลีแทน เพราะเกิดความวุ่นวายหลัง อเลาดิน ถูกสังหาร จึงฉวยโอกาสยึดอำนาจและสถาปนาราชวงศ์ตุกลัค ขึ้นปกครองจนถึง พ.ศ. ๑๘๘๑ เป็นเวลา๒๕ ปี

size="2" face="Tahoma">     ๒. โมหัมหมัด ดาอิล (Muhammad Dail) ปกครองต่อจากตุกลัค มีความคิดย้ายเมืองจากเดลลีไปที่เทวคีรี ใกล้เมืองออรังคบาดปัจจุบัน กล่าวกันว่า มีคนตาบอดเหลืออยู่คนเดียวไม่สามารถเดินทางได้จึงสั่งเอาเชือกผูกขามัดกับเกวียนลากไปจนตาย เมื่อไปถึงเทวคีรี จึงเหลือแต่ขาท่อนเดียวแต่สุดท้ายต้องย้ายกลับมาเมืองเดลลีเหมือนเดิม

size="2" face="Tahoma">     ๓.ไฟรอสชาร์ (FirosShah) ปกครองต่อจากดาอิลได้สร้างเมืองฟิโรชาห์บาด ใกล้เดลลี สร้างความเจริญให้อินเดีย พอควรโดยเฉพาะการชลประทาน ปกครองจนถึง พ.ศ. ๑๙๔๑

size="2" face="Tahoma">     สถานการณ์ พุทธศาสนาในสมัยนี้อยู่ในช่วงวิกฤติ ที่ใดที่กองทัพมุสลิมไปถึงพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ ของอินเดียก็มักถูกทำลายเสมอ ในขณะที่พุทธศาสนาในภาคส่วนอื่นของอินเดียถูกทำลายลง แต่ที่แคชเมียร์กองทัพมุสลิมยังไม่อาจโจมตีได้ เพราะมีป้อมปราการทางธรรมชาติขวางกั่น คือ เทือกเขาที่สูงชัีน พุทธศาสนายังมีชีวิตอยู่ได้ พระมหากษัตริย์ที่มีส่วนเผยแพร่พุทธศาสนาให้เข็มแข็ง คือ ๑. พระเจ้าอโศกมหาราช ๒. พระเจ้าชโลกะ ๓.พระเจ้ามิลินท์ ๔.พระเจ้ากนิษกะ ๕. พระเจ้านระ ๖.พระเจ้าเมฆวรรณ ๗.พระเจ้ายุธสตระที่ ๒ ๘.พระเจ้าทุรภวรรธนะ เป็นต้น
     ต่อมากษัตริย์ฮินคือพระเจ้าราชาสิงห์เทพ (Raja Singha deva) ขึ้นปกครอง ต่อมาจนกระทั่งถึง พ.ศ.๑๘๕๘ ชาห์ มิรฆา (Shah Mirza) นักแสวงโชคชาวเปอร์เซียได้เดินทางเข้าไปแคชเมียร์ เขาได้ทำความดีความชอบหลายประการ จึงได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักของพระเจ้าราชาสิงห์เทพ กษัตริย์ฮินดูของแคชเมียร์ ชาห์ได้ยึดอำนาจปกครองจากพระราชาสิงห์เทพ ศาสนาอิสลามได้รับการยกย่องให้เป็นศาสนาประจำชาติ พุทธศาสนาและศาสนาอื่นจึงเริ่มถูกกำจัดลง ชาห์ มิรซา จึงเป็นกษัตรย์มุสลิมคนแรกของแคชเมียร์ แม้จะถูกปกครองโดยผู้ปกครองที่เป็นมุสลิม พุทธศาสนาก็ยังไม่ถูกทำลายลงสิ้นเชิง มาถึงกษัตริย์ซามอุดดิน ชาห์ (Shams-uddin Shah) ได้ขึ้นปกครอง ทรงให้อิสระในการเชื่อถือแก่ชาวเมืองพอสมควร พุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ได้ แต่กลายสภาพเป็นศาสนาของคนส่วนน้อยไปแล้ว พุทธศาสนาในแคชเมียร์ยุติบทบาทลงโดยสิ้นเชิง เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๐ เป็นต้นมา


๖.ราชวงศ์เซยิด (Sayyad dynasty) พ.ศ.๑๙๔๑ (มองโกล)

size="2" face="Tahoma">      ๑. ติมูร์ (Timur) เชื้อสายมองโกลเข้าโจมตีเดลลีใช้เวลาถึง ๖ เดือน จึงยึดเมืองเดลลีได้ แล้วขนสมบัติกลับเอเชียกลางแล้วให้ ขิซ์ร ข่าน นายทหารคนสนิทปกครอง ส่วนตัวเขาพร้อมกองทัพกลับเมืองสมารกันด์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอุซเบกิสถาน) ข่านจึงสถาปนาราชวงศ์เซยิด ขึ้นแทนที่ราชวงศ์ตุกลัคของตุรกี

size="2" face="Tahoma">     ๒. ขิซ์ร ข่าน (Khiza Khan) ปกครองเดลลีต่อจากติมูร์ เป็นนายทหารคนสนิทของติมูร์มีความเฉลียวฉลาด ต่อมาถูก มาห์โลน โลดี ก่อการกบฎยึดอำนาจ ข่านครองราชย์ได้ ๓๗ ปี จนถึง พ.ศ. ๑๙๙๔

๗.ราชวงศ์โลดี (Lodhis dynasty) พ.ศ.๑๙๙๔ (อัฟกัน)

size="2" face="Tahoma">     ๑. มาห์โลน โลดี (Mahlon Lodhi) เป็นเสนาบดีของข่าน เป็นชาวอัฟกานิสถาน ก่อการกบฏสำเร็จ จึงปกครองเดลลีต่อมา ตอนนี้อาณาจักรเดลลีเริ่มลดลง หลายเมืองเริ่มแยกตัวออกไปเป็นอิสระ แม้จะประสบปัญหาการต่อด้านจากคนอินเดียพื้นเมือง แต่โลดีก็ครองราชบัลลังก์เดลลีได้อย่างยาวนานถึง ๗๕ ปี ต่อมาก็ถูกรุกรานโดยกองทัพมุสลิมมองโกล ชื่อ บาบูร์ ในยุคนี้เกิดศาสนาใหม่ ศาสนาหนึ่งขึ้นในอินเดีย ซึ่งถูกเรียกต่อมาว่า ศาสนาซิกซ์ มีความย่อดังนี้

 

๘.ศาสนาซิกซ์ (Sikhism)

size="1" face="MS Sans Serif" color="#990000">ศาสดา คุรุ นานัก

size="2" face="Tahoma">พ.ศ.๒๐๑๒ ได้มีศาสานาหนึ่งกำเนิดขึ้นในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ศาสนาซิกซ์ คำว่าซิกซ์ มาจากศัพท์ว่า ศิกฺษา ในภาษาสันสกฤต และสิกฺขาในภาษาบาลี อันหมายถึงผู้ศึกษาตามคำสอนของศาสดานั้นเอง ก่อตั้งโดย ท่านคุรุนานัก (Guru Nanak) ผู้เป็นศาสดาองค์แรกใน ๑๐ องค์ องค์สุดท้ายนามว่า โควินทสิงห์ (Guru Govinda singh) ท่านคุรุนานักเกิดที่หมู่บ้านตัลวันดี ปัจจุบันอยู่ในเขตปากีสถาน บิดาชื่อ เมห์ตา กัลยาดาส มารดาชื่อ ตริปาต ในช่วงที่ท่านผู้นี้เกิด อินเดียได้ถูกปกครองโดยมุสลิมอย่างเข้มงวด การต่อสู้ระหว่างอิสลามผู้รุกรานกับฮินดูเจ้าถิ่นเป็นไปในวงกว้าง ท่านเป็นนักการศึกษาและต้องการสมานฉันท์ระหว่างชาวมุสลิมกับฮินดู และประกาศศาสนาใหม่นี้ขึ้น ได้รับการเคารพนับถือจากชาวฮินดูและมุสลิมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่รัฐปัญจาป ทางเหนือของอินเดีย คำสอนของคุรุนานักมีอยู่ในคัมภีร์ คือครันถะสาหิบ พระเจ้าสูงสุดคือ กรฺตาปุรุข
     ศาสนาซิกซ์ เป็นศาสนาที่ต้องการรวมศาสนาอิสลามและฮินดูเข้าด้วยกัน แต่ไม่สำเร็จ จึงกลายเป็นศาสนาใหม่ ปัจจุบันศาสนานี้มีศูนย์กลางอยู่ที่สุวรรณวิหาร เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาปศาสนา ซิกซ์นับเป็นศาสนา เดียวที่ไม่มีประวัติ เบียดเบียนพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน อาจจะเป็นด้วยว่าเมื่อศาสดาคุรุนานักเกิดนั้นพุทธศาสนาได้เสื่อมไปเกือบหมดแล้ว

size="2" face="Tahoma">     พ.ศ.๒๐๔๑ นักเดินเรือชาวโปรตุเกสนามว่า วาสโก ดา กามา (Vascoda Gama) ก็ขึ้นฝั่งที่อินเดียเป็นครั้งแรก นักเป็นชาวยุโรป คนแรกที่เข้ามาค้าขายกับอินเดียอย่างเป็นทางการ เขาพักอยู่อินเดีย ๖ เดือน จึงเดินทางกลับพร้อมกับสินค้าเป็นจำนวนมากที่นำกลับไป การค้นพบอินเดียและเส้นทางการค้าใหม่ดึงดูดให้ชาวยุโรปเริ่มเดินทางเข้าสู่อินเดียตามลำดับ

size="2" face="Tahoma">

๙.ราชวงศ์โมกุล (Mughal dynasty) พ.ศ. ๒๐๖๙ (มองโกล)

size="2" face="Tahoma">      คำว่า โมกุล มาจากคำว่า มองโกล อันเป็นชื่อเรียกชนเผ่าผิวเหลืองปัจจุบันชาวเอเชียตะวันออกเช่น จีน เกาหลี มองโกเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว เขมร ไทย พม่า จัดว่าเป็นเผ่ามองโกลเช่นกัน ชาวมองโกลที่สืบเนื่องมาจากจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เข้าไปรุกรบและยึดครองทวีปยุโรปบางส่วนและเอเชียเกือบทั้งหมดไว้ได้ หัวหน้ามองโกลที่ปกครองเอเชียกลางหันกลับไปนับถือศาสนาอิสลามตามชนพื้นเมืองและกลายเป็นเคร่งจัด ถือว่าการรุกรานเพื่อศาสนาเป็นภารกิจที่จำเป็นและเป็นกุศลมหาศาล ดังนั้นพวกเขาจึงรุกรบเข้าอินเดียโดยไม่เกรงกลัวอันตรายและตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้น แต่การรุกเข้ายึดอินเดียตอนนี้มองโกลต้อง โค่นจักรวรรดิมุสลิมด้วยกันเอง แต่คนละเชื้อสาย

size="2" face="Tahoma">     ๑. บาบูร์ (Babu) เป็นปฐมวงศ์ของราชวงศ์นี้ยึดอำนาจได้จากโลห์ดีกษัตริย์เดลลีชาวอัฟกัน บาบูร์เป็นหลานเจ็งกิสข่าน จักรพรรดิ์มองโกลผู้ยิ่งใหญ่ แต่มีญาติเป็นตุรกีทางบิดา ได้ปกครองอินเดีย พ.ศ.๒๐๖๙ สืบต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามบิดา ในขณะที่กุบไลข่านที่ปกครองจีนเป็นพุทธศาสนิกชน บาบูร์ปกครองอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิตลง เมื่อพ.ศ.๒๐๗๓ รวม ๔ ปี ศพของพระองค์นำไปฝังที่เมืองคาบูล อัฟกานิสถาน

size="2" face="Tahoma">     ๒. หุมายุน (Humayun) เป็นบุตรของบาบูร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบาบูร์ พ.ศ.๒๐๗๓ ถูกเสรชาห์ยึดอำนาจได้ ใช้เวลาหาสมัครพรรคพวกนานจึงยึดบัลลังก์กลับมาได้สำเร็จ เป็นนักปกครองที่เข้มงวด ไม่ให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๐๙๙ รวม ๒๖ ปี

size="2" face="Tahoma">     ๓. อักบาร์ (Akbar) เป็นบุตรของหุมายุน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดา พ.ศ.๒๐๙๙ ขณะอายุ ๑๓ ปี เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย เคยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลัคเนาว์ ๑๓ ปี มีเสนาคู่ใจเป็นฮินดูนามว่า ราชามานสิงห์ ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ได้บีบบังคับชาวฮินดู พุทธ เชนหรือซิกซ์ให้มานับถือศาสนาอิสลามเหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ พยายามจะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่แต่ไม่สำเร็จ ปกครองจนถึง พ.ศ. ๒๑๔๘ รวม ๔๙ ปี
     ในสมัยของจักรพรรดิอักบาร์พ.ศ. ๒๑๔๓ พ่อค้าชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียเพื่อค้่าขายและก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Indian Company) ขึ้นซึ่งต่อมาก็กลายเป็นบริษัทที่เข้ายึดครองอินเดียทั้งหมดในสมัยต่อมา

size="2" face="Tahoma">     ๔. ชาห์ฮังคีร์ (Jahangir) เป็นโอรสของพระเจ้าอักบาร์ ขึ้นครองบัลังก์เดลลีต่อจากอักบาร์ พ.ศ. ๒๑๔๘ เมื่ออายุ ๓๗ ปี เคยก่อการกบฏต่อบิดาหลายหครั้งแต่ก็ได้รับการให้อภัย มีมเหสีนามว่านูรชาหัน ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๑๗๐รวม ๒๒ ปี

size="2" face="Tahoma">     ๕. ชาห์ ชาฮัน (Sha jahan) เป็นโอรสของชาห์ฮังคีร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ โดยการฆ่าพี่น้องหลายคน ต่อมาแต่งงานกับ มุมตัส มาฮาล มีลูกด้วยกัน ๑๔ คน เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล เป็นอนุสาวรีย์ความรักมอบให้แก่มเหสี ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๒๐๒ รวม ๓๑ ปี

size="2" face="Tahoma">     ๖. ออรังเซบ (Aurangzeb) เป็นโอรสของ ชาห์ ชาฮัน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๒ โดยจับบิดาขังคุกเพราะกลัวว่าราชสมบัติจะหมดไปจากการสร้างทัชมาอาล จึงขังจนบิดาตายในคุก แต่พยายามทำดีเพื่อลบล้างความชั่วของตน ได้ทำสงครามปราบปรามแว่นแคว้นอื่น ๆ ครั้งที่สำคัญที่สุดคือการรบระหว่างพระเจ้าออรังเซบกับพระเจ้าศิวจี กษัตริยฺฮินดู แห่งแคว้นมหาราษฎร์ภาคใต้ ทั้งสองฝ่ายได้เสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลการรบนั้นพระเจ้าออรังเซบกำชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด นอกนั้นยังมีสงครามระหว่างชาวซิกซ์กับอิสลาม เป็นต้น ต่อนนี้อังกฤษเริ่มรุกอินเดียทีละน้อย จักวรรดิโมกุลเริ่มลดลงตามลำดับออรังเซบปกครองจนถึง พ.ศ. ๒๒๕๑ รวม ๔๙ ปี

size="2" face="Tahoma">      มายุคนี้พุทธศาสนาในภาคเหนือและภาคกลางของอินเดียได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว จากการยึดครองอินเดียของกองทัพมุสลิมที่ยาวนาน คงเหลือแต่ภาคใต้บางส่วน เช่น ที่เมืองท่านาคปัฏฏินัม แต่แม้การะนั้นก็ต้องต่อสู่กับศาสนาฮินดูอย่างรุนแรง ดังเช่น นายเอ.ไอยัปปะ ยืนยันในงานเขียนของเขาว่า
     "เมื่อนักบวชไศวะ และไวศณพของฮินดู เริ่มแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพุทธศาสนาอย่างรุนแรง และนักปราชญ์ชาวพุทธโต้วาทีแพ้ต่อพวกเขา แม้ขณะนั้นเมืองนาคปัฏฏินัมก็ยังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอยู่ ชาวพุทธที่ถูกรังแก (จากที่อื่น) ก็ทยอยกันเข้าไปกลบภัยอยู่ที่นั่น ชาวพุทธที่เหลืออยู่ในอินเดียใต้ก็ค่อยๆ กลับไปนับถือศาสนาฮินดู จนกระทั่งพุทธศควรรษที่ ๒๑ ยังมีพุทธศาสนิกชนอาศัยอยู่นาคปัฏฏินัม"

size="2" face="Tahoma">     ดังนั้นเมืองท่านาคปัฏฏินัม จึงเป็นที่หลบภัยของพระสงฆ์และพุทธบริษัทจนถึง พ.ศ. ๒๑๐๐ ตามปันทึกของพระถังซัมจั๋ง พ.ศ. ๑๑๐๐ ได้กล่าวสถานการณ์พุทธศาสนาว่ามีวัดที่นาคปัฏฏินัม ๑๐๐ วัด มีพระ ๑๐,๐๐๐ รูป มีวัดที่สำคัญ ๔ วัดคือวัดโศการาม วัดศิลปะแบบจีน วัดคุรุปาลัมปาไล และวัดจุฬามณีวิหาร เป็นต้น

 
ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน 8784 คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter09_2.php on line 573 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter09_2.php on line 573 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter09_2.php on line 573