size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.๑๐๓๓
หลังจากจักวรรดิคุปตะได้เสื่อมลง เสนาบดีของจักรวรรดิคุปตะคนหนึ่ง
นามว่า ภัททารกะ (Bhattarka) ได้พาสมัครพรรคพวกมาสร้างอาณาจักรใหม่
ให้นามราชวงศ์ตนเองว่า ราชวงศ์ไมตระกะ (Maitraka)
ทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ซึ่งในอดีตเป็นหมู่บ้านนามว่า
เสาราชตะ (Sourashtra) ในเขตรัฐคุชราตปัจจุบัน
แล้วให้ชื่อราชธานีใหม่ว่าวลภี (อ่านว่าวะละภี)แม้ว่าประองค์จะเป็นฮินดู
นิกายไศวะ แต่ก็ได้สถาปนาอารามหลายขึ้นแห่ง
และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยวลภีในอันดับต่อมา
ราชวงศ์สืบเชื้อสายมาราว ๙ พระองค์คือ
size="2" face="Tahoma"> ๑.พระเจ้าภัททารกะ
(Bhattarka) ก่อตั้งราชวงศ์ไมตระกะขึ้นที่วลภีนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะ
แต่ได้สถาปนาอารามหลายแห่ง ปกครอง ตั้งแต่ พ.ศ.
๑๐๓๓-๑๐๖๒
๒.พระเจ้าธรุวเสนา
(Dhruvasena) พระโอรสปกครอง เป็นพุทธศาสนิกชน
ทรงสร้างทุฑฒวิหารและพุทธทาสมหาวิหาร ปกครองตั้งแต่
พ.ศ.๑๐๖๒-๑๐๙๓
๓.พระเจ้าคุหะเสนา
(Guhasena) พระโอรสปกครอง เป็นพุทธศาสนิกชนสร้างต่อเติมทุฑฒวิหาร
สร้างเพิ่มเติมมิมมาวิหาร ปกครองตั้งแต่ พ.ศ.๑๐๙๓-๑๑๑๒
๔.พระเจ้าธารเสนา
(Dharasena) ปกครองอาณาจักรวลภี ทรงสนับสนุนการสร้างปัพพาทิยะวิหาร
และกากวิหาร พ.ศ.๑๑๑๒-๑๑๓๓
๕.พระเจ้าศีลาทิตย์ที่
๑ (Siladitya 1st) ปกครองอาณาจักรวลภี สร้างวังสกตะวิหาร
และและยักษะโสระวิหาร ตั้งแต่พ.ศ. ๑๒๓๓-๑๑๕๘
๖.พระเจ้าธรุวเสนาที่
๒ (Dhruvasena 2nd) พระโอรสปกครอง เป็นพุทธศาสนิกชน
ทรงสร้องปูรภัตติวหารและโยธาวกะวิหาร ครองราชย์
พ.ศ. ๑๑๕๘-๑๑๘๔
๗.พระเจ้าธรุวเสนาที่
๓ (Dhruvasena 3rd) พระโอรสขึ้นปกครองทรงสร้างทุฑฒวิหาร
พ.ศ. ๑๑๘๔-๑๑๙๗
๘.พระเจ้าศีลาทิตย์ที่
๒ (Siladitya 2nd) ปกครองอาณาจักรวลภี ทรงสร้างโคหะวิหาร
ปกครองตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๙๗-๑๒๒๘
๙.พระเจ้าศีละทิตย์ที่
๓ (Siladitya 3rd) ปกครองอาณาจักรวลภี ทรงสร้างและบูรณะวิมาลาคุปตะวิหาร
พ.ศ.๑๑๙๗-๑๒๕๓ จึงสิ้นสุดราชวงศ์
พ.ศ.๑๐๔๓ พวกหูนะ
หรือฮั่นขาวก็เข้ารุกรานอินเดียอีกครั้ง หัวหน้าคนหนึ่ง
ชื่อว่าโทรามานะ (Doramana) สามารถรุกรบและยึดปัญจาปและสินธุไว้ได้แล้วทำลายพุทธศาสนาขนานใหญ่
จนทำให้พุทธศาสนาสูญหายเกือบหมดในอินเดียเหนือ
ในขณะที่อินเดียภาคใต้ก็ได้เกิดนักปราชญ์คนสำคัญของพุทธศาสนานิกายเซนขึ้น
ท่านมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พุทธศาสนาในประเทศจีนต่อมา
ท่านนี้คือพระโพธิธรรม
๑๓.พระโพธิธรรม
(Bodhidharma) |
ท่านโพธิธรรม
เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายมหายาน นิกายเซน ชาวจีนเรียกว่า
ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ ท่านเกิดเมื่อ
พ.ศ. ๑๐๑๓ เป็นเจ้าชายองค์ที่ ๓ ผู้ครองเมืองในอาณาจักรกาญจีปุรัม
อินเดียทางใต้ มีพระทัยอ่อนโยนเป็นที่เคารพของพสกนิกร
เมื่อพระบิดาใกล้สิ้นพระชนม์ทรงแต่งตั้งเป็นองค์รัชทายาทสืบสันตติวงศ์ต่อไปสร้างความไม่พอใจให้กับพระเชษฐาทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง
จึงสั่งคนลักลอบทำราย แต่ก็รอดกลับมาได้จึงเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเจ้าชายลาออกจากรัชทายาท
เข้าบวชกับท่านปรัชญาธารา (Prajndhara)
ต่อเมื่อ พ.ศ.๑๐๖๓
ขณะอายุ ๕๐ ปี จึงได้เดินทางไปเผยแพร่นิกายเซนในเมืองจีน
ในสมัยพระเจ้าเหลียงหวูตี้ แห่งราชวงศ์เหลียง
ท่านได้เข้าเฝ้าแต่ไม่เป็นที่ถูกพระทัย เพราะการถามตอบอันลึกซึ้งแบบเซน
เช่น พระเจ้าเหลียงบู่ตี้ถามว่า การสร้างวัดวาอารามบำรุงสมณะพราหมณ์จะได้บุญหรือไม่
แต่ท่านโพธิธรรมตอบว่า ไม่มีเลย จึงไม่พอพระทัย
แต่เมื่อทรงทราบภายหลังว่าท่านเป็นปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ก็เสียพระทัย
ท่านตั๊กม้อ
นับว่าเป็นต้นตำรับวิชากังฟูวัดเส้าหลินมาจนถึงปัจจุบัน
เป็นผู้วางรากฐานพุทธศาสนานิกายเซนหรือฌานให้มั่นคงในจีน
และต่อมากระจายสู่เกาหลีและญี่ปุ่น ยุคสมัยท่าน
นับว่าพุทธศาสนาในประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก
ก่อนมรณภาพท่านก็ได้มอบบาตรและจีวรและตำแหน่งสังฆนายกนิกายเซนให้ฮุ้ยค้อสืบต่อ
ท่านมรณภาพเมื่ออายุ ๑๒๐ ปี บางเล่มกล่าวว่า
๑๕๐ ปี เป็นตำแหน่งสังฆนายกของนิกายเซน อันดับที่
๒๘ในอินเดีย และเป็นองค์แรกในแผ่นดินจีนตำแหน่งสังฆนายกสืบต่อมาจนถึงคนที่
๖ จึงยกเลิกไป
พ.ศ.๑๐๕๐
เศษ กษัตริย์มิหิรกุละ (Mihiragula) เป็นเผ่าฮั่นขาวหรือหูณะ
ได้ยกทองทัพจากเอเชียกลางเข้าอินเดียมาทางอิหร่านและอัฟกานิสถาน
แล้วยึดสาคละ (ปัญจาปบัจจุบัน) กษัตริย์องค์นี้เป็นฮินดู
นิกายไศวะ ในบันทึกพระถังซำจั๋งเขียนไว้ว่า
พระเจ้ามิหิระกุละได้สั่งกำจัดพุทธศาสนาทุกแห่งในแว้นแคว้นของพระองค์ผ่านไป
เป็นเหตุให้ถูกตอบโต้โดยพระเจ้าพาลาทิตย์ (Baladitya)
กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะแห่งมคธ และได้ทำสงครามกันพระเจ้าพาลาทิตย์ชนะจึงจับขังคุก
ต่อมาหนีได้แล้วไปลี้ภัยที่แคว้นกัศมีระ (แคชเมียร์)
สังหารกษัตริย์กัศมีระเสีย แล้วสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ได้รื้อฟื้นการกำจัดพุทธศาสนาอีกครั้ง
ล้มล้างพระสถูปทั้งหลาย ทำลายวัด ๑.๖๐๐๐ แห่ง
สังหารพุทธศาสนิกชน ๙๐๐ โกฏิ แต่ในที่สุดได้ทำอัตวินิบาตกรรม
(ฆ่าตัวตาย) โดยกระโจนเข้ากองไฟ สมัยนี้พุทธศาสนาในกัศมีร์และอินเดียตอนเหนือถูกทำลายอย่างย่อยยับ
พ.ศ.๑๐๘๓
อาณาจักรคุปตะที่ยิ่งใหญ่อันมีศูนย์กลางที่แคว้นมคธ
ก็ได้สลายตัวลง โดยการทำลายล้างของพวกหูนะที่รุกมาจากเอเชียกลางและความอ่อนแอในราชสำนัก
อินเดียในยุคนี้จึงแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยไม่มีใครมีอำนาจเด็ดขาด
พ.ศ.๑๐๙๑
พระจักรพรรดิจีนก็ได้ส่งราชทูต ไปอินเดียเพื่ออาราธนาพระสงฆ์ที่มีความรู้และคัมภีร์ไปเผยแพร่พุทธศานาในจีน
คณะทูตได้พำนักและท่องเmที่ยวอยู่อินเดียหลายปีจึงกลับไปพร้อมกับพระสงฆ์และตำราที่ต้องการ
พระสงฆ์อินเดีย ที่ตามคณะทูตไปจีนมีหลายท่านแต่ที่มีชื่อเสียงคือพระปรมรรถ
ท่านมีประวัติย่อ ๆ ดังนี้
คณาจารย์มหายานท่านนี้เกิดเมื่อราว
พ.ศ.๑๐๖๓ เป็นชาวเมืองอุชเชนี อินเดียภาคตะวันตก
ท่านมีชื่อเรียกหลายอย่างในภาษาจีน เช่น เซนติฉินอี้,คุณรัต
เมื่อโตแล้วได้อุปสมบทและศึกษาพุทธศาสนาที่เมืองอุชเชนี
จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองปาฏลีบุตร
เมื่อพระจักรพรรดิจีนได้ส่งทูตมาอาราธนาพระสงฆ์และบัณฑิตไปเผยแพร่พุทธศาสนาที่จีน
ท่านก็รับนิมนต์พร้อมนำคัมภีร์ไปมากมาย คณะทูตเดินทางไปทางทะเลถึงเมืองนานกิง
และเริ่มงานเผยแพร่พุทธศาสนา แต่ผลงานของท่านเน้นหนักไปในด้านการแปลหนังสือเป็นส่วนมาก
สุดท้ายท่านใช้ชีวิตบั้นปลายที่จีนและมรณภาพที่นั่น
เมื่ออายุได้ ๗๑ ปี ผลงานที่ท่านแปลออกสู่ภาษาจีนมีมากกว่า
๗๐ เล่ม
๑.พระเจ้าจันทรคุปตะที่
๑ (Chandragupta 1st) ราวพ.ศ.๘๖๒-๘๗๘
๒.พระเจ้าสมุทร์คุปตะ
(Samudhragupta) ราวพ.ศ.๘๗๘-๙๑๙
๓.พระเจ้าจันทรคุปตะที่
๒ (Chandragupta 2nd) ราวพ.ศ. ๙๑๙-๙๕๘
๔.พระเจ้ากุมารคุปตะ
(Kumargupta) ราวพ.ศ.๙๕๘-๙๙๗
๕.พระเจ้าสกันธคุปตะ
(Skandhagupta) ราวพ.ศ.๙๙๗-ไม่ปรากฏหลักฐาน
๖.พระเจ้าวิษณุคุปตะ
(Vishnugupta) ไม่ปรากฏหลักฐานปีที่ครอง
๗.พระเจ้าพุทธคุปตะ
(Buddhagupta) ไม่ปรากฏหลักฐานปีที่ครอง
(ราชวงศ์คุปตะปกครองมคธตั้งแต่
พ.ศ.๘๖๒ ถึง พ.ศ. ๑๐๘๓ รวม ๒๒๐ ปี)
size="2" face="Tahoma">แผนที่แสดงอิทธิพลของพระพุทธศาสนา
ราว พ.ศ. ๑๒๐๐
|
 |
|