Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุค พ.ศ.๘๐๐ - ๑๑๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

 ๖. พุทธศิลป์สมัียคุปตะ (Gupta Art)

พระพุทธรูปสมัยคุปตะ ที่สารนาถ

สมัยคุปตะนับว่าเป็นยุคที่ ๓ ของการทำพระพุทธรูปต่อจากสมัยคันนาระและสมัยมถุราอันเป็นยุคศิลปะอินเดียแท้ ยุคนี้เรียกว่า "พุทธศิลป์สมัยคุปตะ" การสร้างพุทธศิลป์สมัยคุปตะนี้เริ่มต้นที่ พ.ศ.๘๐๐ หรือพุทธศตวรรษที่ ๘ จนถึง พ.ศ. ๑๒" ยุคนี้เป็นศิลปะที่งดงามเป็นฝีมือของอินเดียเองไม่ได้รับอิทธิพลจากกรีก-โรมันเหมือนสมัยคันธาระ

พระพุทธรูปสมัยคุปตะนี้ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ที่สารนาถ สมัยคุปตะนี้ นับเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย พระพุทธรูปสมัยนี้พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยเช่นเดียวกับสมัยมถุรา พระเกตุมาลาเป็นต่อม พระพักตร์เป็นแบบอินเดีย ห่มจีวรบางแนบติดพระองค์ ไม่มีริ้ว พระอังสะกว้าง บั้นพระองค์เล็ก ปางประทับนั่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ฐานล่างนิยมแกะรูปกวาง พระธรรมจักรพระสาวกติดไว้ด้วย หินที่นิยมนำมาแกะสลัก ในสมัยนี้คือหินทรายแดงเพราะง่าย ต่อการแกะ ส่วนสมัยคันธาระนิยมหินดำเรือหินสบู่ซึ่งจะดูเรียบและง่ายต่อการแกะสลักมากกว่าหินทราย

ในสมัยคุปตะนี้ได้มีพระภิกษุของอินเดียที่มีชื่อเสียงได้เดินทางไปเอเชียกลาง ทะลุเข้าสู่ประเทศจีน จนที่เคารพศรัทธาของพระจักรพรรดิ และพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาท และมหายาน ขึ้นหลายคน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังคือ

 ๗. พระพุทธทัตตะ (Buddhadutta)

     ท่านนี้เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายเถรวาท เกิดที่อุรคปุระ ปัจจุบันเรียกว่า อุรัยปุระ ในอาณาจักรโจละ ของอินเดียภาคใต้ราว พ.ศ.๙๔๐ เป็นต้นมา หลังจากอุปสมบทแล้วได้เดินทางไปสู่เกาะลังกา เพื่อศึกษาพุทธศาสนาและรวบรวมคัมภีร์ทางพุทธศาสนาจากภาษาสิงหลแปลสู่ภาษามคธ ในคราวที่พักอยู่สิงหล ท่านพักที่มหาวิหารเมืองอนุราธปุระ
     เมื่อสำเร็จภารกิจแล้วก็เดินทางกลับสู่อินเดียโดยทางเรือ ระหว่างทางได้พบกับพระพุทธโฆษาจารย์ที่แล่นเรือผ่านมา ท่านทั้งสองหยุดทักทายกัน แล้วท่านพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า
     "ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์มีอยู่ในภาษาสิงหล ผมกำลังไปเกาะลังกาเพื่อแปลสู่ภาษามคธ"
ท่านพุทธทัตตะกล่าวตอบว่า
     "ท่านผู้มีอายุ ผมไปเกาะลังกามาแล้ว เพื่อจุดประสงค์เดียวกับท่าน แต่ไม่อาจอยู่ได้นาน จึงทำงานไม่สำเร็จ เมื่อท่านรวบรวมอรรถกถาครบแล้วโปรดส่งให้ผมด้วย"

เมื่ือได้รับปากกันแล้วทั้งสองรูปก็จากกัน ต่อมา เมื่อถึงอินเดียท่านก็ได้จำพรรษาที่วัดกฤษณทาส ที่พราหมณ์กฤษณทาส สร้างถวาย ริมฝั่งแม่น้ำกเวริ ณ ที่นี่ ท่านได้เขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น ๑. อุตรวินิจฉัย ๒.วินัยวินิจฉัย ๓.อภิธรรมาวตาร ๔.รูปารูปวินิจฉัย ๕.มธุรัตถวิลาสินี ผลงานของท่านทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาท่านก็ถึงมรณภาพที่วัดนี้

 ๘. พระเจ้ากุมารคุปตะ (Kumargupta)

     พ.ศ.๙๕๘ พระเจ้ากุมารคุปตะทรงครองราชสมบัติแคว้นมคธ เป็นกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ องค์ที่ ๔ ต่อจากพระบิดา คือพระเจ้าจันทรคุปตะที่ ๒ พระองค์เป็นฮินดู จึงได้ฟื้นฟูพิธีอัศวเมฆขึ้น อันเป็นพิธีของศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ ส่วนพุทธศาสนาก็มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ไม่น้อย แม้จะไม่ได้การเคารพจากกษัตริย์ก็ตาม ราว พ.ศ.๙๙๐ พวกฮั่นขาวหรือชาวหูนะจากเอเชียกลางได้บุกเข้าโจมตีอินเดียอีกระลอก เมื่อพวกหูนะผ่านไปเมืองใดก็จะทำลายเมืองนั้น จนย่อยยับ ปล้นเอาทรัพย์สินเท่าที่่จะหยิบฉวยไปได้ กลับไปเอเชียกลาง กองทัพอินเดียของพระเจ้ากุมารคุปตะต่อสู้จนสุดความสามารถ จนในที่สุดพระองค์ได้รับชัยชนะ ประมาณ พ.ศ. ๙๙๗ ก็สวรรคต รวมการครองราชย์ ๓๙ ปี นอกจากพระเจ้ากุมารคุปตะแล้ว ยังมีกษัตริย์อีกหลายพระองค์ที่ปกครอง ราชวงศ์คุปตะเช่น พระเจ้าสกันทคุปตะ พระเจ้าพุทธคุปตะ และพระเจ้าวิษณุคุปตะ เป็นต้น แต่ข้อมูลตอนนี้เลือนลางเต็มทีมีการบันทึกไว้น้อยมาก

 ๙. พระพุทธโฆษาจารย์ (Buddhaghosacharya)

พระพุทธโฆษาจารย์

     ท่านนี้เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน เกิดราวพ.ศ. ๙๔๕ ในสกุลพราหมณ์ที่ตำบลพุทธคยา แคว้นมคธ หรือรัฐพิหารในปัจจุบัน แต่มีบางฉบับกล่าวว่า ท่านเกิดที่ไตลังคะ ทางอินเดียตอนใต้ และพม่าเชื่อว่าท่านเกิดที่พม่า แต่มติเบื้องต้นจะมีผู้เชื่อถือมากกว่า
      สมัยวัยเยาว์ท่านมีความสนใจในทางศาสนามาก มักจะไปชมวัดของพราหมณ์เสมอ และได้เรียนพระเวทอย่างแตกฉาน มีวาทะแหลมคม จนกลายมาเป็นนักโต้วาทีที่มีชื่อเสียงของพราหมณ์ในสมัยนั้น
     วิหารพุทธคยา ยังอยู่ในความดูแลของพระสงฆ์ลังกา กษัตริย์ลังกา คือ พระเจ้าศรีเมฆวรรณได้รับประทานอนุญาตจากพระเจ้าสมุทรคุปตะ ได้สร้างวิหารขึ้นที่พุทธคยา เพื่อเป็นที่อาศัยของพระสงฆ์ลังกา สมัยนั้นพระเรวตะ พระสงฆ์ลังกาเป็นเจ้าอาวาสดูแลพุทธคยา ต่อมาท่านเรวตะได้ยินพุทธโฆษะ ท่องมนต์จากคัมภีร์ปตัญชลี รู้สึกประทับใจจึงได้สนทนากันแล้วพุทูโฆษะจึงถามท่านว่า ท่านทราบมนต์นี้หรือไม่ พระเรวตะตอบว่าเรารู้สูตรนี้ดีทีเดียว แล้วจึงอธิบายสูตรเหล่านั้น แล้วบอกว่าสูตรนั้นผิดหมดทำให้พุทธโฆษะงงเหมือนมีมนต์สะกด จึงให้พระเถระท่องสูตรเหล่านั้นให้ฟัง พระเถระจึงนำเอาพระอภิธรรมมาแสดง เหลือวิสัยของพุทธโฆษะจึงถามพระเถระว่า นี้เป็นมนต์ของใคร พระเถระตอบว่าเป็นพุทธมนต์ และเมื่อพุทธโฆษะอยากท่องมนต์พระเถระจึงกล่าวว่า ถ้าท่านบวชจักสอนให้
     ในที่สุดก็ตัดสินใจละทิ้งลัทธิเดิมแล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉาน เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ขณะที่อยู่ที่พุทธคยาได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ญาโณทัย ถัดจากนั้นได้เขียนอัฎฐกถาอัฎฐสาลินีซึ่งเป็นอัฎฐกถาของธัมมสังคณี ต่อมาพระเรวตะได้แนะนำให้พระพุทธโฆษาจารย์เดินทางไปเกาะลังกาเพื่อแปลคัมภีร์สำคัญเป็นภาษามคธ
      ท่านได้เดินทางไปยังลังกา สมัยพระเจ้ามหานาม ครองเกาะลังกา และพำนักที่มหาปธานวิหารเพื่อศึกษาอรรถกถาภาษาสิงหล
     เมื่อเชี่ยวชาญภาษาสิงหลจึงแปลคัมภีร์หลายเล่มสู่ภาษามคธ ต่อมาได้แต่งหนังสือ " วิสุทธิมรรค" แล้วเดินทางกลับอินเดีย ผลงานของท่านที่ปรากฎ ๑. สมันตปาสาทิกา ๒.กังขาวัตรณี ๓.สุมังคลวิลาสินี ๔. ปปัญจสูทนี ๕. สารัตถปากาสินี ๖. มโนรัตถ ปูรณี ๗. ปรมัตถโชติกา ๘. สัมโมหวิโณทินี ๙. ปัญจปกรณัฏฐกถา ๑๐. วิสุทธิ มรรค ๑๑.ญาโณทัย บางเล่มท่านอาจจะไม่ได้เขียนเอง แต่ท่านก็เป็นผู้ดูแลตลอดจนสุดท้ายท่านก็มรณภาพโดยไม่ ทราบแน่ชัดถึงสถานที่

 ๑๐. พระธรรมปาละ (Dhammapala)

     นักปราชญฝ่ายเถรวาทท่านนี้มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ.๙๕๐ เกิดที่พัทรติตถะ ฝั่งทะเลแห่งอาณาจักรพวกทมิฬของอินเดียภาคใต้ ในรายงานของพระถังซัมจั๋งกล่าวว่า ท่านเกิดที่เมืองกาญจีปุรัม เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาดู เกิดหลังท่านพุทธโฆษาจารย์เล็กน้อย
     เมื่ออายุ ๒๐ปีก็ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ แล้วไปศึกษาต่อที่เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา เมือกลับอินเดียท่านจำพรรษาถาวรที่มหาโพธิ์สังฆาราม พุทธคยา และมรณภาพที่นั่น ผลงานด้านการเขียนชองท่านมีน้อย เมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ แล้วไปศึกษาต่อที่เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา เมื่อกลับอินเดียท่านจำพรรษาถาวรที่มหาโพธิ์สังฆาราม พุทธคญา และมรณภาพที่นั่น ผลงานด้านการเขียนของท่านมีน้อย แต่ก็มีสำนวนไพเราะ เข้าใจง่าย โดยอาศัยที่เมืองนาคปัฏฏินัม อาณาจักรโจลยะอินเดียใต้ (ปัจจุบันอยู่ใกล้เมืองเชนไนหรือมีทราส) ผลงานคือ อรรถกถาขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี วิมลวิลาสินี อรรถกถา เนตติปกรณ์ ปรมัตถมัญชุสา อรรถกถาวิสุทธิมรรค อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถาและจริยาปิฏกเป็นต้น เป็นต้น

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter06_2.php on line 488 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter06_2.php on line 488 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter06_2.php on line 488