Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุค พ.ศ.๒๐๐ - ๕๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๕. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (Mokkalliputratissathera)

     ท่านเป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้คงแก่เรียน เมื่อสมัยเด็กได้ศึกษาไตรเพทอย่างช่ำชอง ต่อมาพระสิคควะได้มาเยี่ยมพราหมณ์ผู้เป็นบิดาที่บ้าน และเมื่อกุมารได้ถามคำถามเกี่ยวกับพระเวท พระเถระได้ตอบปัญหาในพระเวทได้อย่างแจ่มแจ้ง แต่เมื่อถูกถามเรื่องพุทธศาสนา โมคคัลลีบุตร ติสสกุมารไม่อาจให้คำตอบได้ เพราะความอยากรู้ในพุทธศาสนา พระเถระจึงจัดการบรรพชาให้ศึกษากัมมัฏฐานอย่างจริงจังก็บรรลุโสดาปัตติผล แล้วไปศึกษาต่อกับพระจันทวัชชี ต่อมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรระลุพระอรหันต์ เมื่อพระเจ้าอโศก มหาราชหันมานับถือพุทธศาสนา ท่านได้รับการเคารพอย่างสูงจากพระเจ้าอโศก เจ้าชายมหินทะและเจ้าหญิงฆมิตตา พระโอรสและพระธิดาก็ได้รับการอุปสมบทจากท่าน ต่อมาท่านได้รับการไว้วางใจให้เป็นประธานทำสังคายนาครั้งที่ ๓


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๖. พระอุปคุตต์เถระ (Upaguptathera)

     ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้าเครื่องหอมชาวเมืองมถุรา นครนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา (ใกล้เมืองหลวงเดลลีปัจจุบัน) มีพี่น้อง ๓ คน ท่านเป็นคนหนึ่งในบุตร ๓ คน บิดาได้สัญญากับพระญาณวาสีว่าถ้าได้บุตรชายจะให้บวชแต่เมื่อได้มา ๓ คน ก็ยังไม่ได้ถวายพระเถระแต่อย่างใด โดยอ้างว่าจะให้เป็นผู้ค้าขายของที่ร้านแทน เมื่อหนุ่มพระเถระจึงไปแสดงตัว ขณะที่อุปคุตต์หนุ่มกำลังสาละวนอยู่กับการขายของที่ร้าน ด้วยเทศนาของพระเถระจึงได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออนุญาตอุปสมบทในพุทธศาสนา

     ช่วงแรกบิดายังอิดออด พระเถระจึงต้องทวงสัญญาบิดาจึงอนุญาต เมื่อได้อุปสมบทแล้วเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนได้บรรลุพระอรหัต ต่อมาท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ที่ชำนาญ กล่าวกันว่าท่านมีศิษย์ศึกษากัมมัฏฐานด้วยถึง ๑๘,๐๐๐ องค์ ทุกองค์ล้วนเป็นพระอรหันต์ ท่านจำพรรษาที่วัดนัตภัตการาม ภูเขาอุรุมนท์ ต่อมาพระเจ้าอโศกได้อาราธนามาจำพรรษาที่วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ท่านเป็นผู้พาพระเจ้าอโศกเสด็จกราบสังเวชนียสถานทั่วอินเดีย และสร้างเสาหินปักไว้เป็นหลักฐาน


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๗. พระวีตโศกหรือพระติสสเถระ (Vitashokathera)

     ท่านเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราช มีพระมารดาคนเดียวกับพระเจ้าอโศก จึงรอดชีวิตขณะที่พี่น้องหลายคนสิ้นพระชนม์ เพราะพระเจ้าอโศกสั่งประหารคราวยึดราชปัลลังก์ปาฏลีบุตร เกิดในพระราชวังเมืองปาฏลีบุตร มีพระบิดาคือพระเจ้าพินทุสาร เจ้าชายวีตโศกหรือติสสะ ทรงกังขาที่พระสงฆ์ได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจะเลิกกิเลสได้อย่างไร ความทราบถึงพระเจ้าอโศกจึงมีอุบายสั่งให้ครองราชย์ ๗ วันแล้วจะนำไปประหารเมื่อ ครบ ๗ วันแล้วจึงได้ตรัสถาม เจ้าชายตรัสว่า ๗ วันมีแต่ความทุกข์ เพราะกลัวความตายที่จะมาถึง พระองค์จึงตรัสว่า พระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน ต่างกลัวในชาติ ชรา ทุกข์และมรณภัย จำต้องเร่งขวนขวายเพื่อให้บรรลุ เมื่อได้ทราบดังนั้นเจ้าชายก็เลื่อมใสในพระศาสนา แล้วประทานขออนุญาตอุปสมบท ฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่า ท่านอุปสมบทกับพระยสะ ส่วนฝ่ายบาลีกล่าวว่า อุปสมบทกับพระมหาธรรมรักขิตเถระ เมื่อได้รับการอนุญาตจึงอุปสมบทแล้วปลีกวิเวกที่แคว้นวิเทหะจนได้บรรลุพระอรหัต ท่านเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พุทธศาสนา เมื่ออายุ ๘๐ พรรษาก็เข้าสู่นิพพาน


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๘. พระมหินทเถระ (Mahindrathera)

     ท่านเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ประสูติที่เมืองอุชเชนี คราวที่พระบิดาเป็นเจ้าชายไปเป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองนั้น ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี ต่อมาจึงย้ายมาที่เมืองปาฏลีบุตร ท่านและเจ้าหญิงสังฆมิตตา ได้รับการอุปสมบท เพราะพระบิดาต้องการเป็นญาติกับพระศาสนา โดยมีพระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเทวะเป็นผู้ให้บรรพชา ส่วนเจ้าหญิงสังฆมิตตามีพระมหาเถรีธรรปาลีเป็นอุปัชฌายินี พระเถรีอายุปาลีเป็นพระกรรมวาจา ท่านทั้งสองได้รับการอุปสมบทในรัชสมัยที่พระบิดาครองราชย์ได้ ๖ ปี ท่านเจริญวิปัสสนาอย่างเอกอุ ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหนต์

     คราวที่พระเจ้าอโศกดำริส่งพระธรรมทูตเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาสู่ต่างแดน ท่านและพระสังฆมิตตาเถรีได้รับอาสาไปเผยแพร่พุทธศาสนาสู่ต่างแดน ท่านและพระสังฆมิตตาเถรีได้รับอาสาไปเผยแพร่พุทธศาสนาที่เกาะสิงหล ท่านทั้งสองนำหน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาไปด้วยและปลูกที่นั้นจนเจริญเติบโตยืนยาวจนถึงปัจจุบัน ท่านได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพระมหากษัตริย์ของสิงหลเป็นอย่างดี ทำให้พุทธศาสนาหยั่งรากลึกในเกาะลังกาตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน พระองค์เป็นนักประชาสัมพันธ์ที่หาได้ยาก งานสำคัญที่สุดคือการจารึกเรื่องราวของพระองค์ไว้ในเสาหินในที่ต่าง ๆ หลังจากรพระเจ้าอโศกมหาราชแล้วยังไม่มีมหากษัตริย์องค์ใดทำได้เช่นนี้

     เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตแล้ว ผู้สืบราชบัลลังก์ปาฏลีบุตรไม่มีเดชานุภาพเท่า ทำให้หลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ ตอนนี้จักรวรรดิมคธที่กว้างใหญ่ไพศาลได้พูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า ผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าอโศก คือ
     ๑. เจ้าชายสัมปทิหรือสัมประติ (Samprati) พระนัดดาของพระเจ้าอโศก พระราชโอรสของเจ้าชายกุณาละ ปกครองอาณาจักรมคธ ด้านทิศปัจจิม (ตะวันตก) ทรงเลื่อมใสในศาสนาเชน ทรงอุปถัมภ์นิครนถ์อาชีวกชีเปลือยอย่างจริงจัง พระองค์เป็นลูกศิษย์ของสุหัสตินผู้เป็นลูกศิษย์ของภัทรพาหุอาจารย์เชนที่สำคัญในยุคนั้น นอกนั้นยังส่งธรรมทูตของเชนออกเผยแผ่ทั่วชมพูทวีปเลียนแบบการส่งพระธรรมทูตของพระเจ้าอโศกอีกด้วย และต่อมาได้เบียดเบียนพุทธศาสนา ๆ ก็เริ่มอ่อนแรงลงอย่างมาก

     ๒. เจ้าชายทศรถ (Dasaratha) ปกครองอาณาจักรมคธ ด้านทิศบูรพา ไม่ทรงโปรดพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน บางตำรากล่าวว่าพระเจ้าทศรถทรงนับถือศาสนาเชน จารึกที่ภูเขานาครชุน แคว้นพิหาร บอกเราว่า พระเจ้าทศรถหลังการครองราชสมบัติได้ถวายถ้ำแห่งหนึ่งให้อาชีวก แม้จะเป็นศาสนิกของเชน แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทำลายพุทธศาสนาแต่อย่างใด ราชวงศ์เมารยะจึงเป็นราชวงศ์ที่นับถือทุกศาสนาในยุคนั้นคือ เชน พุทธ พราหมณ์

     ดังนั้นอาณาจักรมคธอันกว้างใหญ่ก็เริ่มแตกแยกและสลายตัวลงอย่างรวดเร็ว ถึงรัชสมัยพระเจ้าพฤหัสรถ ราชวงศ์เมารยะองค์สุดท้ายที่ถูกพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ สุงคะ ล้มราชวงศ์เสียและสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์นามว่าปุษยมิตร (Pushyamitra)


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๙. พระเจ้าปุษยมิตร (Pushyamitra)

     ราว พ.ศ.๓๕๘ พระเจ้าปุษยมิตรได้อำนาจจากการกบฏล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าพฤหัสรถ กษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์เมารยะ เพราะเคยเป็นพราหมณ์มาก่อน ได้รอจังหวะที่มีอำนาจเพื่อหวังทำลายพุทธศาสนา เพราะพระเจ้าอโศกทรงห้ามการล่าสัตว์ และฆ่าสัตว์บูชายัญ จึงสร้างความไม่พอใจให้กับพวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่อาจจะทำอะไรได้ เมื่อได้เป็นกษัตริย์สมใจ ได้เรียกราชวงศ์ที่ตนเองตั้งขึ้นว่า สุงคะ จึงได้รื้อฟื้นประกอบพิธีอัศวเมธ ฆ่าม้าบูชายัญ

     ดังนั้นศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจึงฟื้นชีพขึ้นมาอีก ทรงทำลายวัดพุทธศาสนาอย่างมากมาย ตลอดตั้งค่าหัวพระสงฆ์ ๑๐๐ ทินาร์ ถ้าใครตัดหัวพระสงฆ์หรือพุทธศาสนิกชนได้ ยุคนี้พุทธศาสนา ถูกทำลายอย่างหนัก ในบันทึกของท่านตารนาถนักประวัติศาสตร์ชาวธิเบตชื่อดังได้ กล่าวว่า "พระเจ้าปุษยมิตร กษัตริย์ฮินดูองค์นี้ได้ทำลายอารามกุกกุฏาราม เมืองเวสาลี และวัดพุทธศาสนาที่สาคละที่ปัญจาปตะวันออก และพระราชทานรางวัลจำนวน ๑๐๐ ทีนาร์สำหรับผู้ตัดศีรษะชาวพุทธได้" นี้เป็นเครื่องยืนยันถึงการทำลายล้างพุทธศาสนา เป็นครั้งแรกจากกษัตริย์ต่างศาสนาหลังพุทธกาลมา

     ปุษยมิตรปกครองมคธนานถึง ๓๖ ปี เมื่อสวรรคตแล้ว พระเจ้าอัคนิมิตร (Agnimitra) พระโอรสได้ปกครองมคธต่อมา พระองค์ไม่ได้ทำลายพุทธศาสนาแต่ก็ไม่สนับสนุน พระเจ้าอัคนิมิตรปกครองมคธ แค่ ๘ ปี ยุคนี้จึงเป็นยุคมืดของพุทธศาสนาในแคว้นมคธ แม้ว่าจะถูกทำลายล้างแต่พุทธศาสนาในส่วนอื่นของอินเดียยังเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายกว้างไกลแม้กระทั่งภาคใต้ของอินเดีย จนเริ่มมีการสร้างวัดถ้ำขึ้นหลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะที่ถ้ำอชันตา รัฐมหาราษฎร์


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๑๐. เริ่มสร้างถ้ำอชันตา (Ajanta Cave)

     เมื่อราว พ.ศ.๓๕๐ เป็นต้นมา เมื่อพุทธศาสนาได้แผ่กระจายครอบคลุมอินเดียทั้งเหนือและใต้ คณะสงฆ์อินเดียภาคตะวันตกเฉียงใต้ก็เริ่มสร้างวัดคูหาขึ้น เรียกว่า ถ้ำอชันตา โดยการเจาะภูเขาไปสร้างเป็นวัดและวิหารเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและปฏิบัติอาศัยและปฏิบัติธรรม หลีกเว้นจากชุมชน งานเจาะหินนับว่าเป็นงานที่หนักหนาสาหัสที่ต้องใช้ความพยายามอย่างแรงกล้า หากปราศจากซึ่งศรัทธาที่มั่นคงในศาสนาแล้ว ผู้เจาะคงไม่อาจทำสำเร็จอย่างแน่นอน อชันตาเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองออรังคบาต รัฐมหาราษฎร์อินเดียภาคตะวันตก

ถ้ำอชันตา ถ้ำพระพุทธศาสนาล้วนๆ

    อชันตาเป็นถ้ำพุทธศาสนาล้วน ๆ ไม่มีศาสนาอื่นมาปนเหมือนถ้ำเอลโลร่า มีประมาณ ๓๐ ถ้ำ โดยแบ่งเป็นถ้ำหินยาน ๖ ถ้ำ อีก ๒๔ ถ้ำเป็นฝ่ายมหายาน การก่อสร้างกินเวลายาวนานตั้งแต่ พ.ศ. ๓๕๐ ถึง พ.ศ.๑๒๐๐ เศษ รวมเวลาการก่อสร้าง ๘๕๐ ปีโดยประมาณ ถ้ำอชันตาห่างจากตัวเมืองออรังคบาดราว ๑๐๒ กิโลเมตร ความจริงการเจาะภูเขาสร้างเป็นวัดนั้น มิใช่มีเฉพาะอชันตาหรือเอลโลร่าเท่านั้น แต่มีมากมายในอินเดียตะวันตก เช่นถ้ำออรังคบาด ถ้ำที่เมืองนาสิก ถ้ำที่ใกล้สาญจี เมืองโภปาล ถ้ำที่ใกล้เมืองบอมเบย์ ถ้ำที่เมืองบังกาลอร์ และปูเน่ เป็นต้นที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นถ้ำทางพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ปัจจุบันหลายถ้ำได้ถูกยึดครองโดยชาวฮินดูไปแล้ว

     ถ้ำอชันตาถูกทิ้งร้างกลายเป็นป่ารกชัฏปกคลุมถึง ๘๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ นายทหารอังกฤษได้เข้าไปล่าสัตว์ ได้ยิงกวางที่บาดเจ็บหลบเข้าไป จึงออกค้นหาจึงเจอถ้ำโดยบังเอิญ ถ้ำอชันตาจึงเป็นที่รู้จักของชาวอินเดียและต่างชาติตั้งแต่นั้นมา


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">สรุปราชวงศ์ต่าง ๆ แคว้นมคธ

๑. ราชวงศ์เมารยะ พ.ศ.๑๖๐ (Maurya Dynasty)
     ๑. พระเจ้าจันทรคุปต์ (Chandra gupta) พ.ศ.๒๒๒-๒๔๘ รวม ๒๖ ปี
     ๒. พระเจ้าพินทุสาร (Bindusara) พ.ศ.๒๔๘-๒๗๖ รวม ๒๘ ปี
     ๓. พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka) พ.ศ.๒๗๖-๓๑๒ รวม ๓๖ ปี
     ๔. พระเจ้าสัมปทิ (Sampadhi) พ.ศ.๓๑๒- (ไม่สามารถระบุได้)
     ๕. พระเจ้าทศรถ (Dhasaratha) พ.ศ.๓๑๒- (ไม่สามารถระบุได้)
     ๖. พระพฤหัสรถ (Vrihashartha) ปกครองจนถึงพ.ศ.๓๕๘
(หลังจากพระเจ้าสัมปทิและพระเจ้าทศรถแล้ว ราชวงศ์เมารยะยังมีปกครองต่อมาอีกหลายพระองค์จนถึงพระเจ้าพฤหัสรถ)

๒.ราชวงศ์สุงคะ พ.ศ. ๓๖๐ (Sungha Dynasty)
     ๑. พระเจ้าปุษยมิตร (Pushyamitra) พ.ศ.๓๕๖-พ.ศ.๓๙๒ รวม ๓๖ ปี
     ๒. พระเจ้าอัคนิมิตร (Agnimitra) ราวพ.ศ. ๓๙๒-พ.ศ.๔๐๐ รวม ๘ ปี
     ๓. พระเจ้าสุชเยษฐา (Sujyeshtha) ราวพ.ศ. ๔๐๐-ไม่สามารถระบุ
     ๔. พระเจ้าสชวสุมิตร (Vasumitra) ราวพ.ศ. ๔๐๖
     ๕. พระเจ้าอรทรากะ (Ardraka) ราวพ.ศ. ๔๑๐
     ๖. พระเจ้าปุรินทกะ (Pulindaka) ราวพ.ศ. ๔๑๗
     ๗. พระเจ้าโฆษวสุ (Ghosavasu) (ไม่อาจระบุเวลา)
     ๘. พระเจ้าวัชรมิตร (Vajramitra) (ไม่อาจระบุเวลา)
     ๙. พระเจ้าภควตะ (Bhagavata) ราวพ.ศ.๔๒๙-พ.ศ.๔๖๑ รวม ๓๒ ปี
     ๑๐. พระเจ้าเทวติ (Devabhuti) จากพ.ศ.๔๑๖-พ.ศ. ๔๗๑ รวม ๑๐ ปี
(ราชวงศ์นี่มีกษัตริย์ ๑๐ พระองค์ ปกครองราว ๑๐๒ ปี )

๓.ราชวงศ์กานวะพ.ศ. ๔๖๘ (Kanva Dynasty)
     ๑.พระเจ้าวาสุเทวะ (Vasudeva) เริ่มจากพ.ศ. ๔๖๘
     ๒.พระเจ้าภูมิมิตร (Bhumimitra) ปกครองต่อจนถึงพ.ศ. ๕๑๓
ราชวงศ์นี้มี ๔ พระองค์ คือ
     ๑. พระเจ้าวาสุเทวะ
     ๒. พระเจ้าภูมิมิตร
     ๓. พระเจ้านารายนะ
     ๔. พระเจ้าสุลารมัน
(ราชวงศ์นี้ปกครองมารวม ๔๕ ปี)

๔.ราชวงศ์อันธระพ.ศ. ๕๐๕ (Andhara Dynasty)
     ๑.พระเจ้าศรีมุขะ (Shrimukha) ยึดมคธได้ เมื่อ พ.ศ.๕๑๖ อาณาจักรมคธจึงสลาย กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอันธระ ในอินเดียภาคใต้ อันมีเมืองหลวงชื่อว่า อมราวดี (Amaravati)

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_3.php on line 557 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_3.php on line 557 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_3.php on line 557