Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุค พ.ศ.๒๐๐ - ๕๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๔. สังคายนาครั้งที่ ๓ (The third Buddhist Synod)

     พ.ศ.๒๘๗ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ถวายเทศนาแก่พระเจ้าอโศกมหาราช จนพระองค์ทรงมีความเลื่อมใส และซาบซึ้งในหลักธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ได้ประทับอยู่ที่อุทยานนับเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อชำพระศาสนาให้บริสุทธิ์จากเดียรถีย์เข้าปลอมบวช ในวันที่ ๗ พระองค์ได้ประกาศบอกนัดให้พระภิกษุที่อยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นให้มาประชุมที่อโศการามเพื่อชำระความบริสุทธิ์ของตน ภายใน ๗ วัน พระองค์ประทับนั่งภายในม่านกับท่านโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้สั่งให้ภิกษุผู้สังกัดอยู่ในนิกายนั้น ๆ นั่งรวมกันเป็นนิกาย ๆ แล้วตรัสถามให้พระอธิบายคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้อธิบายผิดไปตามลัทธิของตน ๆ พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ตรัสให้สึกพระอลัชชีเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนหกหมื่นรูป ครั้นกำจัดพระภิกษุพวกอลัชชีให้หมดไปจากพุทธศาสนาแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ จึงได้จัดให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร โดยได้รับราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชอย่างเต็มที่

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่อโศการาม นครปาฏลีบุตร

     ในการทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระภิกษุเข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก ได้อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิปทา ๔ สังคายนาครั้งนี้ได้ทำเช่นเดียวกับสังคายนาครั้งที่ ๑ ได้มีการปุจฉาวิสัชนาพระวินัยปิฎกก่อน เริ่มตั้งแต่ปฐมปาราชิก สังคายนาวัตถุ นิทาน บุคคลบัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ และอนาบัติ แล้วสังคายนาในทุติยปาราชิกไปตามลำดับ จนครบ ปาราชิกทั้ง ๔ แล้วยกปาราชิกทั้ง ๔ ขึ้นตั้งไว้เป็น ปาราชิกกัณฑ์ ยกสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเป็นเตรสกัณฑ์ เป็นต้น เมื่อสังคายนาพระวินัยปิฎก เสร็จแล้วได้สังคายนาพระสุดตันตปิฎกต่อไป เริ่มตั้งแต่ทีฆนิกายจนถึงขุททกนิกายในการทำสังคายนาครั้งนี้ได้จัดทำสังคายนาพระอภิธรรมปิฎกอีก คือ ในสังคายนาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เริ่มต้งแต่ธรรมสังคณีจนถึงมหาปัฎฐาน

      เรื่องที่สำคัญในการทำสังคายนาครั้งนี้ ก็คือพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้ร้อยกรองคัมภีร์กถาวัตถุขึ้น เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ยังคลุมเครือให้แจ่มแจ้ง โดยได้ตั้งคำถาม และคำตอบไปในตัวกถาวัตถุ (เรื่อง)กล่าวถึงธรรมหมวดใด ก็เรีกตามชื่อของธรรมหมวดนั้น เช่น กล่าวถึงบุคคลก็เรียกชื่อว่าบุคคลากถา กล่าวถึงความเสื่อมก็เรียกว่า ปริหานิยกถา รวมทั้งหมดมี ๒๑๙ กถา และกถาวัตถุ เป็นคัมภีร์หนึ่งในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ ๑. ธรรมสังคณี ๒.วิภังคะ ๓.ธาตุกถา ๔.บุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖ยมกะ ๗.ปัฏฐานะนักปราชญ์หลายท่านให้ความเห็นว่า กถาวัตถุมิใช่หนังสือที่บรรจุไว้ซึ่งพระพุทธน์อันดั้งเดิม พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพึ่งจะรจนาขึ้นเมื่อคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๒๓๖ ปี

      เรื่องที่สำคัญที่สุดในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ นี้ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งสมณทูตไปประกาศพุทธศาสนาในแคว้นและประเทศต่าง ๆ รวมทั้งหมดมี ๙ สายด้วยกันคือ

     ๑. พระมัชณันติกเถระ ไปแคว้นกัศมีร์และคันธาระ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งได้แก่แคว้น แคชเมียร์ในปัจจุบันนี้

     ๒. พระมหาเทวะเถระ ไปมหิสสกมณฑล อยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งได้แก่ไมซอร์ ในปัจจุบัน (อยู่ ทางทิศใต้ของอินเดียติดกับเมืองมัทราส)

     ๓. พระรักขิตเถระ ไปวนวาสีประเทศ อยู่ในเขตกนราเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้

     ๔. พระโยนกธัมมรักขิตเถระ ไปปรันตชนบทอยู่ริมฝั่งทะเลอาระเบียนทิศเหนือของบอมเบย์

     ๕. พระมหาธัมมรักขิตเถระ ไปที่แคว้นมหาราษฎร์ ภาคตะวันตกไม่ห่างจากบอมเบย์ในปัจจุบัน

     ๖. พระมหารักขิตเถระ ไปโยนกประเทศได้แก่ เขตแดนบากเตรียในเปอร์เซียปัจจุบัน

     ๗. พระมัชฌิมเถระ ไปหิมวันประเทศได้แก่เนปาล ซึ่งอยู่ตอนเหนือของอินเดีย

     ๘. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า และมอญทุกวันนี้

     ๙. พระมหินทเถระ ไปประเทศเกาะสิงหล หรือประเทศศรีลังกา

 

เมื่อเห็นการเผยแผ่ไปของพุทธศาสนาทั้ง ๙ สายนี้แล้ว ก็พอจะทราบได้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปไกลที่สุดยิ่งกว่าสมัยใด ๆ นับตั้งแต่พุทธศาสนาอุบัติขึ้นมา ในสมัยเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนมายุอยู่นั้น พุทธศาสนาได้เจริญอยู่ในแคว้น มคธ โกศล วัชชี อังคะ วังสะ กาสี และอุชเชนี คือได้เจริญอยู่ทางทิศเหนือทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตอนกลางบางส่วน พระพุทธองค์ได้เสร็จไปประกาศพุทธศาสนาใน ๗ รัฐเท่านั้น ส่วนทางทิศใต้สุด ตะวันออกสุด และตะวันตกสุด พุทธศาสนายังไปไม่ถึงศาสนาพราหมณ์ ยังมั่นคงแข็งแรงอยู่แม้แต่ในที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก็ยังมีศาสนาพราหมณ์ และศาสนาเชนแทรกซึมอยู่ทุกแห่ง ในยุคของพระองค์ได้ติดต่อกับราชอาณาจักรของกษัตริย์ที่อยู่ห่างไกล เช่น
     กษัตริย์โยนะ นามว่า อันติโยคะ คือ พระเจ้าอันติโอโคส (Antiochos) แห่งซีเรีย
     พระเจ้าตุระมายะ คือพระเจ้าปโตเลมี (Ptolemy) แห่งอีหยิปต์
     พระเจ้าอันเตกินะ คือพระเจ้าอันติโคโนส (Antgonos) แห่งมาเซโดเนีย
     พระเจ้ามคะ หรือพระเจ้ามคัส(Magas) อาณาจักรไกรีนถัดจากอียิปต์
     พระเจ้าอลิกกสุนทระหรือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งเอปิรุสหรือประเทศกรีก

จากหลักฐานที่เราได้พบและได้รู้จากหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งปักไว้ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศอินเดียนั้นแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างมาก พวกเรารุ่นหลังจึงได้อาศัยสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ ไม่อย่างนั้นเราอาจไม่รู้ว่า สถานที่สำคัญของพุทธศาสนาในสมัยนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง


color="#CC0000">สรุปการทำสังคายนาครั้งที่ ๓

     ๑. ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร แคว้นมคธ
     ๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน
     ๓. พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์
     ๔. พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์ เข้าร่วมประชุม
     ๕. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้รจนากถาวัตถุขึ้น
     ๖. ส่งสมณทูตไปประกาศพุทธสาสนารวม ๙ สาย
     ๗. การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อกำจัดภิกษุอลัชชีหกหมื่นที่ปลอมบวช
     ๘. ทำอยู่ ๙ เดือนจึงสำเร็จ พุทธศาสนาแผ่ไพศาลมากยิ่งขึ้น
     ๙. พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระเป็นผู้ถาม
     ๑๐. พระมัชฌันติกเถระ และพระมหาเทวเถระเป็นผู้วิสัชนา
     ๑๑. เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ๒๓๖ ปี

ผลดีของการสังคายนา

สังคายนาครั้งนี้ ในตำราพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของฝ่ายจีน หรือธิเบต และท่านเฮี้ยนจังก็มิได้กล่าวไว้ในรายงานของท่านแต่อย่างใด หลังสิ้นสุดสังคายนาแล้วได้มีผลดีเกิดขึ้นหลายอย่างคือ
     ๑. กำจัดภิกษุผู้ปลอมบวชได้ ทำให้สังฆมณฑลบริสุทธิ์ขึ้น
     ๒. รวบรวมพระไตรปิฎกเป็น ๓ หมวดอย่างสมบูรณ์ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอริธรรมปิฎก
     ๓. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระแต่งกถาวัตถุ ไว้ในพระอภิธรรมปิฏกด้วย สังคายนาครั้งที่ ๓ นี้ได้มีพระเถระที่มีบทบาทสำคัญที่ควรจะได้กล่าวถึงหลายท่านคือ

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_2.php on line 491 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_2.php on line 491 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_2.php on line 491