Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุค พ.ศ.๒๐๐ - ๕๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

<พุทธศาสนายุค พ.ศ. ๒๐๐-๕๐๐
  (Buddhism in B.E.200-500)


      พระเจ้าอเล็กซานเดอร์กลับไปแล้ว แต่พระองค์ก็ยังตั้งนายพล คนสำคัญ ๆ ดูแลเมืองต่าง ๆ ที่ยึดได้ การตัดสินใจใดๆ ของเมืองในอารักขาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้สำเร็จราชการกรีก และเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์แล้วอาณาจักรที่ไพศาลก็แตกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย เพราะทุกคนต่างก็ต้องการเป็นใหญ่ อีกทั้งกษัตริย์องค์ต่อจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เข้มแข็งพอ

     ด้านอาณาจักรมคธหลังจากสังคายนาครั้งที่สองผ่านไปแล้ว อาณาจักรก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้านันทะซึ่งเดิมเป็นมหาโจรเข้ายึดครองปาฏลีบุตรต่อจากพระเจ้ากาฬาโศก แล้วตั้งราชวงศ์นันทะขึ้นแทนราชวงค์สุสูนาค พระเจ้านันทะเมื่อขึ้นเถลิงราชสมบัติแล้วกลับเป็นกษัตริย์ที่ดี ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาและบ้านเมืองอย่างดีราชวงศ์นันทะปกครองปาฏลีบุตรมาจนถึงพระเจ้าธนนันทะ พระองค์พยายามเป็นนักปกครองที่ดี และสร้างกองทัพให้เข้มแข็งยิ่งใหญ่ ต่อมาก็ถูกจันทรคุปต์ท้าทาย แต่ก้ทรงปราบสำเร็จใจเบื้องต้น แต่เมื่อจันทรคุปต์ได้พราหมณ์ชื่อจาณักยะเป็นผู้วางแผน และเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ ครั้งที่สองการยึดอำนาจของจันทรคุปต์จึงประสบสำเร็จ พระเจ้าธนนันทะ สวรรคตในสนามรบ นครปาฏลีบุตร อันเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาและชมพูทวีปตกอยู่ในอำนาจของจันทรคุปต์


size="4">๑.พระเจ้าจันทรคุปต์ (Chandra Gupta) size="4">

     พ.ศ. ๑๖๐ จันทรคุปต์ก็ยึดอำนาจสำเร็จปกครองปาฏลีบุตรต่อมาพระองค์เป็นนักรบที่กล้าหาญ เคยช่วยเหลือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ในการตีอินเดีย ในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า จันทรคุปต์เป็นบุตรของนางมุรา พระชายาองค์หนึ่งของพระเจ้านันทะที่เมืองปาฏลีบุตรราว พ.ศ. ๒๒๑ เพราะเหตุที่เป็นโอรสของนางมุรา จึงได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ ว่า เมารยะ หรือโมรยะ แต่ตำราบางเล่มกล่าวว่าจันทรคุปต์มีเชื้อสายศากยะ แห่งกรุงปิลพัสดุ์ หลังถูกพระเจ้าวิฑูฑภะทำลายราชวงศ์ศากยะแล้ว เผ่าพันธ์ส่วนหนึ่งของศากยะได้อพยพหลบหนี จากเงื้อมดาบไปตั้งอาณาจักรเล็ก ๆ แห่งใหม่ขึ้นแถบหุบเขาหิมาลัย และบริเวณนั้นเป็นที่อาศัยของ นกยูง จึงเรียกว่า เมารยะ หรือโมรยะ (Maurya dynasty) หนังสือมหาโพธิวงศ์กล่าวว่า บิดาของจันทรคุปตะถูกฆ่าตายที่ในสนามรบเมืองโมรยะนคร มารดาที่ตั้งครรภ์จึงแอบหลบหนีไปเมืองปาฏลีบุตร แคว้นมคธ เมื่อโตขึ้นจึงได้พราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า วาณักยะ เป็นผู้อบรมเลี้ยงดูและสอนศิลปวิทยา

ซากพระราชวังปาฏลีบุตร เมืองปัฏนะ

ในช่วงต้นได้ช่วยเหลือกองทัพกรีกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ต่อมาจึงแข็งข้อกบฏต่อพระเจ้าธนนนันทะ ราชวงศ์นันทะ เมืองปาฏลีบุตร ในการรบครั้งแรกจันทรคุปต์พ่ายแพ้อย่างยับเยินต้องหลบหนีเอาตัวรอด และเมื่อเดินทางผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งได้ฟังเสียงย่าด่าหลานที่กินขนมที่ร้อน ๆ ตรงกลาง จึงดุด่าว่าโง่เหมือนจันทรคุปต์ กินของร้อนต้องกินตั้งแต่ขอบ เพราะขอบบางจะเย็นกว่าด้านใน ซึ่งร้อนกว่า ได้ฟังดังนั้น พระองค์จึงได้สติแล้วเริ่มซ่องสุมผู้คนใหม่ แล้วตีรอบนอกเข้ามา หาชาวบ้านเป็นมวลชนอาจกล่าวได้ว่า พระองค์เป็นคนแรกที่คิดยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองขึ้นเป็นคนแรก ซึ่งฝ่ายที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ใช้ต่อมา ในที่สุดก็ยึดปาฏลีบุตรได้เด็ดขาด โดยสังหารพระเจ้าธนนันทะในสนามรบ แล้วปราบดาภิกเษกเป็นกษัตรย์ สถาปนาราชวงศ์ เมารยะขึ้นในปาฏลีบุตร เมื่อ พ.ศ.๒๒๒ พระองค์ได้ธิดาพระเจ้าธนนันทะ มาเป็นมเหสี แล้วทำสงครามต่อสู้กับเจ้าเมืองกรีกหลายคนเช่น ซีลิวกุส หรือซิลากุส(Seleukos) ในอัฟกานิสถานและบางส่วนของปากีสถานในที่สุดก็ทำให้จักวรรดิ์ เมารยะแผ่ไพศาลตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำคงคาจนถึงอัฟกานิสถาน นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ธิดาเจ้าเมืองกรีกมาเป็นมเหสีอีกพระองค์ด้วย ในสมัยของพระองค์ยังได้ธิดาจากเมืองกรีกมาเป็นมเหสีอีกพระองค์ด้วย ในสมัยของพระองค์กรีกได้ส่งเอกราชทูตมาประจำที่สำนักเมืองปาฏลีบุตรนามว่า เมกัสเทเนส(Makustenes) โดยเขาได้เขียนรายงานไว้อย่างละเอียดเกี่ยวกับสภาพเมืองปาฏลีบุตรในยุคนั้น

     พระเจ้าจันทรคุปต์มีพระโอรสอยู่หลายพระองค์แต่ที่ปรากฏชื่อ คือ เจ้าชายสิงหเสน (Singhasena) , เจ้าชายพินทุสาร (Bindusara) ในช่วงต้นพระองค์ปรารถนา ให้เจ้าชายสิงหเสน (Singhasena) ขึ้นครองราชย์แทนแต่ก็ถูกเจ้าชายพินทุสารยึดอำนาจ แล้วปกครองแทน ในช่วงปลายรัชกาลพระองค์เลื่อมใสในลัทธิเชน หรือชีเปลือย โดยนิมนต์ชีเปลือยและอาชีวกมาฉันที่พระราชวังทุกวัน และได้เสด็จออกบวชในศาสนาเชน ราชบัลลังก์จึงตกอยู่ในมือของเจ้าชายพินทุสาร ราชโอรสองค์เล็ก พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงครองราชย์ประมาณ ๒๔ ปี


๒. พระเจ้าพินทุสาร (Bindusara) size="4">

     พ.ศ.๑๘๔ เจ้าชายพินทุสารแย่งราชสมบัติกับพระเชษฐาคือสิงหเสนแต่โดยการสนับสนุนของพราหมณ์ อำมาตย์ราชมนตรี จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดาราว พ.ศ.๒๔๖ กล่าวกันว่าพระองค์นับถือศาสนาพราหมณ์ ในหนังสือมหาวังสะกล่าวว่า พระองค์เชิญพราหมณ์มาเลี้ยงที่ราชวังถึงวันละ ๖๐,๐๐๐ คนทุกวัน ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่าความเป็นจริงบ้าง แต่ก็เชื่อได้ว่าพระองค์ศรัทธาในศาสนาพราหมณ์อย่างจริงจัง แต่กษัตริย์พระองค์นี้ก็ไม่ได้ทำลายพุทธศาสนา ยังได้สนับสนุนอยู่บางส่วน ตอนนี้พุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปหลายส่วนของอินเดีย เช่นนิกายเถรวาทไปตั้งหลักแหล่งเพิ่มเติมที่แคว้นอวันตี นิกายมหาสังฆิกะ ไปรุ่งเรืองที่คันธาระและกัศมีร์ นิกายสรวาสติวาทไปเจริญรุ่งเรืองที่แคว้นมถุรา นิกายมหิสาสกะไปเจริญรุ่งเรืองที่มหิสสากะมณฑล พระเจ้าพินทุสารมีพระมเหสี ๑๖ พระองค์และมีพระโอรสมากมาย บางเล่มกล่าวว่ามีถึง ๑๐๑ พระองค์แต่ที่สำคัญ คือเจ้าชายอโศก เจ้าชายวีตโศก เจ้าชายสุสิมะ ในช่วงแรกทรงหวังให้เจ้าชายสุสิมะขึ้นครองราชสมบัติแทนจึงวางแผนให้เจ้าชายอโศก ไปรักษาการอุปราชที่เมืองอุชเชนี และเมื่อตักกศิลาเป็นกบฏทรงส่งเจ้าชายสุสิมะพร้อมกองทหารไปปราบแต่ไม่สำเร็จ จึงส่งเจ้าชายอโศกไปแทนจึงปราบปรามสำเร็จ ตั้งแต่นั้นชื่อเสียงของเจ้าชายอโศกจึงโด่งดัง มีรัศมีเหนือกว่าพระโอรสทั้งหมด เมื่อพระเจ้าพินทุสารจะสวรรคตเจ้าชายอโศกจึงเข้าเฝ้า ในที่สุดก็ยึดอำนาจแล้วประหารที่น้องไปถึง ๑๐๑ พระองค์ เหลือแต่เจ้าชายวีตโศกหรือ ติสสะกุมารซึ่งเกิดจากพระมารดาเดียวกันเท่านั้นที่ได้ชีวิต แล้วปราบดาภิเษกขึ้นปกครองเมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าพินทุสารครองราชย์ ๒๘ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๑๒


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๓. พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka the great)

      พ.ศ.๒๑๘ เจ้าชายอโศกใช้เวลาต่อสู้แย่งราชสมบัติอยู่ ๔ ปี จึงจัดการสำเร็จแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองปาฏลีบุตรต่อมา พระเจ้าอโศก (Ashoka) เป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์เมารยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา ๑๑ พระองค์ แต่ปรากฏนามคือ ๑.เจ้าชายติวาระ ประสูติจากพระนางการุวากี ๒.เจ้าชายกุณาละ ประสูติจากพระนางปัทมวดี ๓. เจ้าชายมหินทะและเจ้าหญิงสัฆมิตตา ประสูติจากพระนางเวทิศา ๔.เจ้าหญิงจารุมติ ไม่ทราบพระมาตรา ๕.เจ้าชายกุสตันไม่ทราบพระมารดา ๖.เจ้าชายวิสมโลมะ ไม่ทราบพระมารดา ๗. เจ้าชายจาลุกะ ไม่ทราบพระมารดา

ยอดเสาหินเป็นรูปสิงห์สี่หัว ปฏิมากรรมชิ้นเยี่ยมสมัยพระเจ้าอโศก

     ในขณะที่เป็นเจ้าชายพระองค์ถูกส่งไปเป็นผู้ดูแลเมืองอุชเชนีและตักกศิลา จนเมื่อพระบิดาสวรรคตแล้วจึงขึ้นครองราชย์ในตำนานหลายเล่ม กล่าวว่าพระองค์ปรงพระชนม์เจ้าชายในราชตระกูลไปถึง ๑๐๑ พระองค์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) จึงเกิดความเบื่อหน่ายในสงคราม ประกอบกับศรัทธาเลื่อมใสในนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่นทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ และหลักศิลาจารึกเป็นต้น ได้บำรุง พระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่ อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การที่พระองค์ทรงบำรุงพระภิกษุสงฆ์เช่นนี้ ก็เพื่อจะได้พระภิกษุในพุทธศาสนาได้รับความสะดวก มีโอกาสบำเพ็ญสมณธรรมได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลในการแสวงหาปัจจัย ๔ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น แต่กลับปรากฏว่ามีพวกนักบวชนอกศาสนาเป็นจำนวนมาก ปลอมบวชในพุทธศาสนา เพราะเห็นแก่ลาภสักการะ เมื่อบวชแล้วก็คงสั่งสอนลัทธิศาสนาเก่าของตน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพุทธศาสนา ข้อนี้ทำให้พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกฉานในพระไตรปิฎก เกิดความระอาใจต่อการประพฤติปฏิบัติของเหล่าพระภิกษุอลัชชีที่ปลอมบวชทั้งหลาย จึงได้ปลีกตัวไปอยู่ที่โธตังคบรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี บรรพตเจริญวิเวกสมาบัติอยู่ที่นั้นอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลา ๗ ปี

      จำนวนพระอลัชชีมากกว่าพระภิกษุแท้ๆ ต้องหยุดการทำอุโบสถสังฆกรรมถึง ๗ ปี เพราะเหตุที่พระสงฆ์ ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่ยอมร่วมกับพระอลัชชีเหล่านั้น จึงทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชไม่สบายพระทัยในการแตกแยกของพระสงฆ์ ทรงปวารณาจะให้พระสงฆ์เหล่านั้นสามัคคีกัน จึงได้ตรัสสั่งให้อำมาตย์หาทางสามัคคี ฝ่ายอำมาตย์ฟังพระดำรัสไม่แจ้งชัด สำคัญผิดในหน้าที่ จึงได้ทำความผิดอันร้ายแรง คือ ได้บังคับให้พระภิกษุบริสุทธิ์ทำอุโปสถร่วมกับพระอลัชชี พระภิกษุผู้บริสุทธิ์ต่างปฏิเสธที่จะร่วมอุโบสถสังฆกรรม อำมาตย์จึงตัดศีรษะเสียหลายองค์

      เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทราบข่าวนี้ ทรงตกพระทัยยิ่งจึงเสด็จไปขอขมาโทษต่อพระภิกษุที่อาราม และได้ตรัสถามสงฆ์ว่า การที่อำมาตย์ได้ทำความผิดเช่นนี้ ความผิดจะตกมาถึงพระองค์หรือไม่ พระสงฆ์ถวายคำตอบไม่ตรงกัน บ้างก็ว่า ความผิดจะตกมาถึงพระองค์ด้วยเพราะอำมาตย์ทำตามคำสั่ง แต่บางองค์ก็ตอบว่าไม่ถึงเพราะไม่มีเจตนา คำวิสัชนาที่ขัดแย้งกันเช่นนี้ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชกระวนกระวายพระทัยยิ่งนัก ทรงปรารถนาที่จะให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้มีความสามารถและแตกฉานในพระธรรมวินัยถวายคำวิสัยชนาอย่างแจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสถามถึง พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้ตรัสตอบว่า มีแต่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรูปเดียวเท่านั้นที่อาจแก้ความสงสัียได้ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้ส่งสาส์นไปอาราธนาท่านเดินทางมายังเมือง ปาฏลีบุตร แต่ไม่สำเร็จ เพราะพระเถระไม่ยอมเดินทางมาตามคำอาราธนา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงไม่หมดความพยายาม จึงได้รับสั่งให้พนักงานออกเดินทางโดยทางเรือรบท่านตามคำแนะนำของพระติสสะเถระ ผู้เป็นอาจารย์ของโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ

     ในที่สุดพระเถระก็ยอมมาและในวันที่ท่านเดินทางมาถึงนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จไปรับพระเถระด้วยพระองค์เอง ได้เสด็จลุยน้ำไปถึงพระชานุ แล้วยื่นพระกรให้พระเถระจับและตรัสว่า "ขอพระคุณท่านจงสงเคราะห์ข้าพเจ้าเถิด" แล้วได้นำท่านไปสู่อุทยาน ได้ทรงแสดงความเคารพพระเถระอย่างสูง และได้ตรัสถามพระเถระว่า การที่อำมาตย์ได้ตัดศีรษะว่าเป็นบาปได้ก็ต่อเมื่อพระองค์มีเจตนาที่จะฆ่าเท่านั้น คำวิสัชนานั้น ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยมาก ฝ่ายพระอลัชชีผู้ปลอมบวชในพุทธศาสนานั้นก็ยังพยายามที่จะประกอบมิจฉาชีพอยู่ต่อไป พระเหล่านั้นได้มัวเมาหลงใหลในลาภสักการะไม่พอใจในการปฏิบัติธรรม อาศัยผ้าเหลืองเลี้ยงชีพ ประพฤติผิดธรรมวินัยไม่สังรระวังในสีลาจารวัตร เที่ยวอวดอ้างคุณสมบัติโดยอาการต่างๆ เพื่อหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อหาลาภสักการะเข้าตัว เพราะเหตุนี้จึงทำให้พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องพลอยด่างพร้อยไปด้วย ความอลเวงได้เกิดขึ้นในวงการของพุทธศาสนาทั่วไปลาภสักการะมีอำนาจเหนือ อุดมคติของผู้เห็นแก่ได้ แม้กระทั่งผู้ทรงเพศเป็นภภิกษุห่มเหลืองก็ยังตกอยู่ภายใต้อำนาจของมัน ที่จริงผู้มีลาภคือผู้มีลาภคือผู้มีบุญ แต่มัวเมาในลาภคือสั่ังสมบาป การที่พระได้ของมามาก ๆ จากประชาชนที่เขาบริจาคด้วยศรัทธานั้น นับว่าเป็นการดีไม่มีผิด แต่การที่พระสั่งสมของมัวเมาในลาภ เหลวไหลในเกียรติ เห่อเหิมและเพลิดเพลินในโลกียวัตถุ จนลืมหน้าที่ของตนนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_1.php on line 521 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_1.php on line 521 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter04_1.php on line 521