Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุคหลังพุทธปรินิพพาน-พ.ศ.๒๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๗. อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the great)

face="MS Sans Serif" size="2" color="#990000">พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

พ.ศ.๑๗๖ หรือพุทธปรินิพพานได้ ๑๙๖ ปี ที่คาบสมุทรบอลข่าน เมืองมาซิโดเนีย กรีก เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ก็ได้ประสูติขึ้นมาในโลก พระองค์นับเป็นกษัตริย์ที่นักประวัติศาสตร์ทั่วโลก ยอมรับว่ายิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ ณ มาซิโดเนีย เมื่ออายุ ๒๐ พรรษาต่อจากพระบิดานามว่า ฟิลิปส์ (Pgillips) พระองค์เป็นศิษย์เอกของอริสโตเติล เมื่อทรงพระเยาว์ได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดี

     เมื่อพระชนมายุ ๒๖ พรรษา ก็ทรงเป็นนักรบที่เก่งกาจ สามารถเอาชนะทั้งซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ เปอร์เซีย (อิหร่าน)ภายในเวลาแค่ ๔ ปี จากนั้นข้ามภูเขาฮินดูกูฏเข้ามาสู่ปัญจาปทางอินเดีย ภาคเหนือเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖ ที่นี่พระองค์ได้ทะลุถึงเมืองตักกศิลา (Taxila) เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ ณ ที่นี่พระเจ้าอัมพิราชา (Ambhiraja) ไม่ได้ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่า ตัวเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็ง พอที่จะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึงได้เปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่ให้ตักกศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาซิโดเนียเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักกศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาป ๕,๐๐๐ คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม

     ดังนั้น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จึงรุดเข้าสู่ปัญจาป ได้พบกับกองทัพของพระเจ้าเปารวะ หรือ เปารุส พระราชาแห่งปัญจาป และเมื่อพระเจ้าอเล้กซานเดอร์เดินทางมาถึงแม่น้ำวิตัสตะ พระองค์ก็ได้มองเห็นทัพพระเจ้าเปารุสตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม เมื่อถึงตอนกลางคืน ทัพกรีกพร้อมทหารตักกศิลาเป็นพันธมิตร ก็เริ่มโจมตีอย่างฉับพลัน เมื่อเจอลูกศรช้างทรงของพระเจ้าเปารวะได้รับบาดเจ็บ จึงอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนเองและทหารกรีก เกิดความสับสนอลหม่าน และในไม่ช้าทัพอินเดียของพระเจ้าเปารวะก็แพ้อย่างยับเยิน ตัวพระเจ้าเปารวะเองบาดเจ็บสาหัสจึงถูกนำตัวมาเฝ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์

     เมื่อกษัตริย์ กรีกถามว่าจะให้ปฏิบัติต่อเจ้าอย่างไร เปารวะกล่าวเยี่ยงอย่างพระราชา ทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์พอพระทัย สุดท้ายก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ปกครองปัญจาปเช่นเดิม

     เมื่อเสร็จศึกที่ปัญจาปแล้วพระเจ้าอเล็กซานเดอร์หวังจะยกทัพต่อเพื่อยึดมคธและส่วนอื่น ๆ ของอินเดีย แต่แม่ทัพนายกองทหารอ่อนล้าเต็มที่จึงวิงวอนไม่ให้เดินทัพต่อ

     กษัตริย์แห่งมาซิโดเนีย จึงจำเป็นต้องถอนทัพกลับหลังยึดอินเดียเหนือได้ ๑ ปีกับ ๘ เดือน ทัพกรีกแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกกลับทางเรือง อีกฝ่ายกลับทางบก ยุคนี้อินเดียส่วนเหนือ เปอร์เซีย (อีหร่าน) บาบิโลน (อีรัก) อีหยิปต์ ปาเลสไตน์ ซีเรียและยุโรปต่างตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิกรีก ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์อย่างสิ้นเชิง

     หลังกลับไม่ได้นานพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ได้สิ้นพระชนม์ที่บาบิโลน (อิรัก) รวม พระชนมมายุ ๓๓ พรรษาเท่านั้น นักประวัติศาสตร์ต่างยอมรับว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์นับเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์โลกเทียบเท่าเจ็งกิสข่านของมองโกลผู้พิชิตยุโรป

 

สรุปราชวงศ์ต่าง ๆ แคว้นมคธ (โดยอนุมาน)

๑. ราชวงศ์ไศศุนาค (Sisunaga Dynasty)
          ๑. พระเจ้าไศศนาคะ (Sisunaga) ปกครอง (ไม่อาจระบุพ.ศ.)
          ๒. พระเจ้ากากวรรณี (Kakavanni) ปกครอง (ไม่อาจจะระบุเวลาพ.ศ.)
          ๓. พระเจ้าเกษมธรมัน (Kshemadharman) ปกครอง (ไม่อาจระบุ พ.ศ.)
          ๔. พระเจ้ากษัตรชาส (Kshatrajas) ปกครองก่อนพุทธกาล ๑๙ ปี
          ๕. พระเจ้าพิมพิสาร (Bimbisara) ปกครองสมัยพุทธกาล จนถึงก่อนพุทธปรินิพพาน ราว ๓๘ ปี
          ๖. พระเจ้าอชาติศัตรู (Ajatasatru) ก่อนพุทธกาล - พ.ศ. ๒๔ รวม ๓๒ ปี
          ๗. พระเจ้าอุทัยภัทร (Udayabhadra) พ.ศ.๒๔ - พ.ศ.๔๐ รวม ๑๖ ปี
          ๘. พระเจ้าอนุรุทธะ (Anuruddha) พ.ศ. ๔๔ - พ.ศ.๔๔ รวม ๔ ปี
          ๙. พระเจ้ามุณฆกะ (Mundhaga) พ.ศ. ๔๔ - พ.ศ.๔๘ รวม ๔ ปี
          ๑๐.พระเจ้านาคทาสกะ (Nagadasaka) พ.ศ.๔๘ - พ.ศ.๖๘ รวม ๒๐ ปี

๒. ราชวงศ์สุสูนาค (Susunaga Dunasty)
          ๑. พระเจ้าสุสูนาค (Susunaga) พ.ศ.๖๘ - พ.ศ.๘๖ รวม ๑๘ ปี
          ๒. พระเจ้ากาฬาโศก (Kalashoka) พ.ศ.๘๖ - พ.ศ.๑๑๔ รวม ๒๘ ปี
          ๓. พระเจ้าภัทรเสน (Bhadhrasena) พ.ศ.๑๑๔ - พ.ศ.๑๔๐ รวม ๒๒ ปี

๓. ราชวงศ์นันทะ (Nanda Dynasty)
          ๑. พระเจ้ามหาปัทมานันทะ (Mahapadananda) จาก พ.ศ.๑๔๐
          ๒. พระเจ้าธนนันทะ (Dhanananda) พ.ศ. ๑๖๒ - (ไม่อาจระบุเวลา)

(ในคัมภีร์มหาโพธิวังสะกล่าวว่า ราชวงศ์นี้มีผู้ปกครองต่ออีก ๘ พระองค์คือ ๑. ปัณฑกะ ๒. ปัณฑุกติ ๓. ภูตปาละ ๔. ราษฎระปาละ ๕. โควิสาร ๖. ทศสิทธกะ ๗. ไกวารตะ ๘. ธนะ รวมเวลา ๒๒ ปี)

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน 4275 คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter03_5.php on line 431 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter03_5.php on line 431 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter03_5.php on line 431