Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุคหลังพุทธปรินิพพาน-พ.ศ.๒๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">๒. พระเจ้าอชาตศัตรูย้ายเมือง (New city)

     เมื่อพระพุทธองค์ได้ปรินิพพานได้ ๑๗ ปี พระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายราชธานี จากภายในหุบเขาเมืองราชคฤห์ ออกมาข้างนอก และย้ายต่อไปอยู่ฝั่งแม่น้ำคงคา เรียกเมืองใหม่ว่า ปาฏลีบุตร (Patariputra) (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna เมืองหลวงของรัฐพิหารปัจจุบัน) สาเหตุที่ย้ายนครเพราะเหตุผลทางด้านการเมือง เพราะพระองค์กำลังเตรียมพร้อมทำสงครามกับรัฐอื่นอยู่ ในสมัยพุทธกาลนี้มคธกลายเป็นมหาอำนาจที่เข้มแข็งที่สุดกว่าทุกอาณาจักร และไม่เคยล่มสลายเหมือนเมืองอื่น จนกระทั้งถึงราชวงศ์ปาละ พ.ศ.๑๖๐๐ ปี แม้ว่าเมืองเวสาลี (Vishali) จะได้ถูกพระองค์ยึดมาอยู่ในพระราชอาณาจักรแล้วก็ตาม แต่เพราะเมืองราชคฤห์อยู่ในหุบเขายากต่อการขายเมือง อีกทั้งเมืองใหม่อยู่ข้างแม่น้ำคงคาสะดวกต่อการคมนาคม

     พระเจ้าอชาตศัตรูพระองค์มีพระมเหสีที่สำคัญคือ พระนางปัทมาวดี (Patmavati) มีพระโอรสที่สำคัญคือ เจ้าชายอุทัยภัทร หรือในตำราเชนเรียกว่า อะทายีภัททะ (Udayibadda) ปกครองปาฏลีบุตรนครใหม่ของพระองค์จนถึง พ.ศ. ๒๔ ก็ถูกพระราชโอรสยึดอำนาจ ปลงพระองค์เสียจากชีวิต รวมปกครองนครราชคฤห์และปาฏลีบุตรได้ ๓๒ ปี

     พ.ศ. ๒๔ พระเจ้าอุทัยภัทร (Udayabdhra) พระโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู ยึดอำนาจโดยการปรงพระชนม์พระบิดา แล้วขึ้นครองราชสมบัติต่อ ณ นครปาฏลีบุตร ต่อมาทรงสร้างเมืองใหม่ไม่ไกลจากปาฏลับุตรมากนัก นั่นคือ กุสุมานคร หรือปุปผาบุรี เป็นเมืองคู่แฝดของปาฏลีบุตร พระอุบาลีมหาเถระ ผู้เป็นองค์วิสัชนาพระวินัยในคราวสังคายนาครั้งที่ ๑ ได้นิพพานในสมัยพระเจ้าอุทัยภัทรนี้ นำความโศกเศร้ามายังพุทธศาสนิกชนชาวมคธและใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ได้จัดให้ทำฌาปนกิจพระมหาเถระอย่างสมเกียรติ ส่วนพระมหากัสสปเถระและพระอานนท์ยังมีชีวิตอยู่ พระอานนท์เถระเจ้ามีพรรษา ๑๐๔ ปีแล้วนับว่าชรามาก แต่ก็สามารถทำศาสนกิจ โปรดพุทธศาสนิกชนเป็นตัวแทน พระศาสดาโดยอัตโนมัติ เพราะเมื่อความพระบรมศาสดามีพระชนม์อยู่เมื่อเห็นพระศาสดาโดยอัตโนมัติ เพราะเมื่อคราวพระบรมศาสดามีพระชนม์อยู่ เมื่อเห็นพระศาสดาที่ใด ย่อมได้เห็นพระอานนท์ที่นั้นดุจเงาตามตัว แม้มาถึงสมัยนี้จะไม่ได้เห็นพระศาสดาแล้ว แต่พุทธศาสนิกชนก็ยังอุ่นใจเพราะยังได้เห็นพระอานนท์เป็นตัวแทนอยู่บางตำรากล่าวว่าทุกที่ที่ย่างไป พระอานนท์ยังได้นำบาตรของพระพุทธองค์ไปด้วยเสมอ พระเจ้าอุทัยภัทร มีพระโอรสที่ปรากฏพระนาม ๑ พระองค์ คือ เจ้ายชายอนุรุทธะพระองค์สวรรคตเมื่อ พ.ศ.๔๐ รวมครองราชย์ ๑๖ ปี

     พ.ศ. ๔๐ เจ้าชายอนุรุทธะ (Anuruddha) ตัดสินใจเป็นกบฏยึดอำนาจจากพระบิดา จับพระเจ้าอุทัยภัทรสำเร็จโทษแล้ว พระองค์ก็ครองนครปาฏลีบุตรต่อมา พระอานนท์มหาเถระก็ได้นิพพานในสมัยนี้ สร้างความเศร้าสลดให้กับพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าคราวที่พระบรมศาสดาปรินิพพาน เพราะพระอานนท์เปรียบเหมือนตัวแทนของพระศาสดา จาริกโปรดพุทธบริษัทไปทุกหนแห่ง แม้ไม่เห็นพระศาสดาก็ยังได้เห็นพระอานนท์ซึ่งเป็นดุจเงาของพระบรมศาสดา เมื่อมานิพพานเสียแล้วจึงยังความโศกเศร้าให้กับพุทธบริษัทเป็นยิ่งนัก แม้กระทั่งพระราชาเอง พระเจ้าอนุรุทธะมีราชโอรสที่ปรากฏพระนาม ๑ จน พระองค์คือ เจ้าชายมุณฑกะ พระองค์ครองราชสมบัติได้ไม่นานแค่ ๔ ปี จนถึง พ.ศ.๔๔ ก็สวรรคตเพราะถูกพระโอรสยึดอำนาจรวมครองราชสมบัติ ๔ ปี

     พ.ศ. ๔๔ เจ้าชายมุณฑกะ (Mundaka) หลังยึดอำนาจพระบิดาได้แล้ว ทรงปลงพระชนม์พระบิดาเช่นกัน นับเป็นราชวงศ์ปิตุฆาตโดยแท้ นับจากพระเจ้าอชาตศัตรูยึดอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารมา พระเจ้ามุณฑกะมีพระโอรส ๑ พระองค์คือเจ้าชายนาคทาสกะ ครองราชย์อยู่ไม่นานเช่นกันเพียง ๔ ปีที่ครองราชย์ก็ถูกยึดอำนาจ รวมครองราชสมบัติ ๔ ปี

     ต่อมา พ.ศ. ๔๘ เจ้าชายนาคทาสกะ (Nagadasaka) โดยการสนับสนุนของอำนาตย์ ราชบริพารบางคนยึดอำนาจจากพระบิดาสำเร็จ แล้วปกครองนครปาฏลีบุตรสืบมา ในช่วงปลายราชการบ้านเมืองเกิดจลาจล หลายฝ่ายมองว่าราชวงศ์นี้เป็นวงศ์ปิตุฆาตมาโดยตลอด ปกครองไปจะนำความอับจนความเป็นเสนียดมาสู่ราชอาณาจักรจึงสนับสนุนอำมาตย์สุสูนาคเป็นกบฏและยึดอำนาจสำเร็จ พระเจ้านาคทาสกะครองราชบัลลังก์มาได้ ๒๔ ปี จนถึง พ.ศ. ๗๒ ก็สวรรคต

     ในด้านสังฆมณฑล กษัตริย์ราชวงศ์พระเจ้าพิมพิสารทั้ง ๖ พระองค์ด่างสนับสนุนอุปถัมภ์ค้ำชูพุทธศาสนาเป็นอย่างดี จนกระจายไปสู่หลายแคว้น ที่พุทธศาสนาไปไม่ถึง สังฆมณฑลโดยทั่วไปก็ยังไม่เรียบร้อยนักเพราะมีความเห็นผิดหลายประการ โดยเฉพาะมติของพระปุราณะ จนทำให้สังฆมณฑลแยกออกเป็น ๒ ฝ่ายอย่างกลาย ๆ แต่เหตุการณ์ยังไม่รุนแรง เพราะในยุคนั้นพระอรหันตสาวกมีมากจึงยังไม่มีปัญหามากนัก

      พ.ศ. ๗๒ อำมาตย์สุสูนาคเป็นกบฏและยึดอำนาจจากพระเจ้านาคทาสกะสำเร็จ ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นกษัตรย์ ปกครองราชบัลลังก์ปาฏลีบุตรสืบมา พระเจ้าสุสูนาคไม่ใช่ราชวงศ์พระเจ้าพิมพิสาร แต่เป็นสายเจ้าลิจฉวี แห่งเมืองเวสาลี มีพระมารดาเป็นหญิงงามเมืองที่เมืองเวสาลี สมัยนั้นเมืองเวลาลี เป็นที่ขึ้นชื่อเกี่ยวกับความสวยของสตรี และปรากฏว่า มีโสเภณีหลายคน รวมทั้งพระมารดาของพระเจ้าสุสูนาคด้วย ที่มีชื่อเสียงในสมัยพุทกาล คือ นางสาลวดีเป็นผู้มีความสวยงามเป็นเลิศ จึงถูกแต่งตั้งให้เป็นโสเภณี พระเจ้าสุสูนาคมีพระโอรส (เท่าที่ปรากฏ) ๑ พระองค์คือเจ้าชายกาฬาโศก พระองค์ปกครองแคว้นมคธจนถึง พ.ศ. ๙๐ ก็สวรรคต

     พ.ศ. ๙๐ หลังจากพระบิดาสวรรคตแล้วเจ้าชายกาฬาโศกก็ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ตำราบางเล่มโยงพระเจ้ากาฬาโศกกับพระเจ้าอโศกเป็นองค์เดียวกัน สร้างความสับสนให้ประวัติศาสตร์ยุคนี้พอสมควร แต่ส่วนมากยังเชื่อว่าเป็นคนละองค์เพราะมีหลักฐานยืนยันหลายเล่ม และระยะเวลาก็ห่างไกลกันมาก ในสมัยนี้สังฆมณฑลเริ่มเกิดความยุ่งยาก เพราะมีคณะภิกษุกลุ่มหนึ่งละเมิดพระธรรมวินัยที่เมืองเวสาลี ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิมคธ จึงเป็นที่มาของการสังคายนาครั้งที่ ๒

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter03_2.php on line 411 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter03_2.php on line 411 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter03_2.php on line 411