Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย อินเดียก่อนยุคพุทธกาล
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

<๔. อาศรม ๔ (Four Ashrams)


คำว่า อาศรม (Ashrams) ในความหมายโดยทั่วไป หมายถึงที่อยู่อาศัยของนักบวชหรือดาบส แต่ในที่นี้หมายถึง ช่วงระยะเวลาของชีวิตที่ต้องปฏิบัติตาม คนในวรรณะสูงทั้งสามคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ (เว้นศูทร) ต้องปฏิบัติตามอาศรม ๔ อย่างนี้คือ

          ๑. พรหมจารี คือช่วงชีวิตสำหรับการศึกษาเล่าเรียน เพื่อนำความรู้มาแสวงหาทรัพย์ สมบัติ ทางโลก บุคคลที่อยู่ในอาศรมคือพรหมจารีต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างเคร่งครัด

          ๒. คฤหัสถ์ คือช่วงหาความสุขทางโลก มีครอบครัว มีบุตรธิดา แสวงหาทรัพย์สมบัติ ประกอบยัญพิธี และรับผิดชอบต่อชุมชน บุคคลที่อยู่ในช่วงนี้คือคฤหัสถ์

          ๓. วนปรัตถ์ คือ ช่วงที่จะต้องปล่อยว่างวิถีชีวิตคฤหัสถ์แล้วหันมาปฏิบัติธรรม ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรรม โดยการออกไปพำนักอยู่ในอาศรมในป่า บำเพ็ญตบะและข้อปฏิบัติอื่นๆ ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด เรียกว่า วนปรัตถ์

          ๔. สันยาสี คือการปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะ อันเป็นจุดหมายของชาวฮินดู เป็นช่วงที่สละทุกอย่างเหลือแต่ผ้านุ่งกับภาชนะสำหรับภิกขาจารและหม้อน้ำ เที่ยวจาริกทั่วไป บุคคลที่อยู่ในอาศรมนี้เรียกว่า สันยาสี

ทั้งสี่อาศรมนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอัตถะ กามะ ธรรมะ และโมกษะ

 

<๕. วรรณะทั้ง ๔ (4 Castes)


ชนชาวอารยันนับเป็นชนชาติเดียวในโลกที่แบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะตามความเชื่ออย่างเคร่งครัด ทั้งนี้สืบเนืองมาจากอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ดั่งเดิม วรรณะทั้ง ๔ คือ

        ๑. กษัตริย์ (Kshatriya) เกิดจากอกของพระพรหม ถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ มีเครื่องแต่งกายสีแดง เป็นชนชั้นปกครองหรือนักรบ ปัจจุบันวรรณะนี้เป็นบุคคลทั่วไป ไม่จำเป็นว่าต้องกษัตริย์เสมอไป

          ๒. พราหมณ์ (Brahmana) เกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม มีเครื่องแต่งกายประจำคือสีขาว อันแสดงถึงความบริสุทธิ์ มีหน้าที่กล่าวมนต์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้แก่ผู้คนโดยทั่วไป เป็นพวกศึกษาเล่าเรียน คัมภีร์พระเวท เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า

          ๓. แพศย์ (Vaishaya) เกิดจากตะโพก (บางแห่งว่าจากตัก) ของพระพรหม มีเครื่องแต่งกายประจำคือสีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติจัดเป็นพวกพ่อค้า วาณิช ทำเกษตรกรรม เป็นพลเรือนโดยทั่วไป

          ๔. ศูทร (Sudra) เกิดจากฝ่าเท้าของพระพรหม มีเครื่องแต่งกายคือสีดำหรือสีอื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส เป็นกรรมกร มีอาชีพชั้นต่ำ เป็นที่ดูถูกในสังคม และยังมีวรรณะพิเศษอีกพวกที่ไม่ถูกจัดเข้าพวกนั้นคือจัณฑาลหรืออธิศูทร (Adhisudra) หรือหริชน เป็นวรรณะที่ต่ำต้อยที่สุดที่ไม่ได้รับอภิสิทธิ์ใด ๆ จากสังคม มีสถานะต่ำยิ่งกว่าสัตว์เสียเอีก พวกวรรณะจัณฑาลกล่าวกันว่ามาจากพวกที่แต่งงานข้ามวรรณะลูกที่ออกมาจึงกลายเป็นจัณฑาล ทฤษฎีนี้ไม่ถูกต้องเสมอไป มีอีกมากมาย ที่คนแต่งงานข้ามวรรณะแล้วก็ยังมีหน้ามีตาทางสังคม ปัจจุบันวรรณะนี้มีหลายร้อยล้านคนในอินเดีย

 

<๖.สำนักปรัชญาทั้ง ๖ (6 Theories)


          ๑. ลัทธิเวทานตะ (Vedanta) ลัทธินี้แปลว่า ตอนสุดท้ายแห่งพระเวท โดยแสดงว่าความจริงอย่างแท้จริงมีอยู่สิ่งเดียวคือปรมาตมัน ๆ แตกตัวจากอาตมันคือวิญญาณของบุคคล มันสิงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน เพียงแต่เขาอาจจะไม่ทราบเท่านั้น หลักการนี้พุทธศาสนามหายานก็นำไปใช้ โดยกล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีธาตุแห่งความเป็นพุทธะอยู่แล้วในตัวทุกคน ลัทธินี้เป็นระบบปรัชญาที่เกิดจากอุปนิษัท โดยอุปนิษัทเรียกร้องศรัทธา เวทานตะเรียกร้องเหตุผลจากมนุษย์ ปรัชญาหลักของเวทานตะคือ ความไม่รู้เท่าทันความจริงที่ว่า จิตของเราแต่ละคนเป็นอาตมัน เป็นอย่างเดียวกับจิตของพรหมคือ ปรมาตมัน คนเราจึงกระทำกรรมถือกรรมต่าง ๆ เป็นตัวตนของเขา ดังนั้นจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ เมื่อใดกำจัดอวิชชา ความไม่รู้ไห้หมดไปแล้วอาตมันจะเข้าร่วมกับปรมาตมัน คนที่สำเร็จจะกลายเป็นพรหม ลัทธินี้รวบรวมโดยอวยาส

          ๒. ลัทธินยายะ (Nyaya) แปลว่าเข้าไปในธรรม เป็นหลักการค้นคว้าหาความจริงอย่างอนุมานและพิจารณาเรื่องทุกข์ ชาติ พฤติกรรมโทษพร้อมทั้งอวิชชา ซึ่งนยายะสอนให้เปลื้อง ตั้งแต่ปลายไปหาต้น แล้วจะบรรลุความหลุดพ้น วาตสยายนะ อาจารย์สอนชื่อดังของลัทธินี้กล่าวว่า "อวิชชา คือ ความไม่รู้นำมาซึ่งความเกาะเกี่ยว ความแห้งแล้ง ความริษยา ความเห็นผิดความประมาท อหังการและความโลภตามลำดับ บุคคลผู้มีอวิชชา ย่อมประกอบประทุษกรรมต่าง ๆ มีการลักขโมย ประพฤติผิดในกาม เป็นต้นนี้เป็นอกุศลทั้งสิ้น บุคคลใดมีความประพฤติดีรู้จักให้ทาน มีความเมตตากรุณา มีความสัตย์ บำเพ็ญประโยชน์ พูดจามีสาระย่อมได้ชื่อว่าประกอบกุศลกรรม การเกาะเกี่ยวชีวิต ทำให้มีการเกิดและนำมาซึ่งความทุกข์ อุปมาว่าอาหารที่คลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้งและยาพิษก็ควรทิ้งไปให้หมดเพราะเป็นสุขที่เจือด้วยทุกข์" ลัทธินี้รวบรวมโดยท่านฤๅษีโคตมะ ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระพุทธเจ้าและหลักคำสอนก็คล้ายคลึงอย่างมาก

        ๓. ลัทธิไวเศษิกะ (Vaisesika) ลัทธินี้สอนว่าโลกเกิดจากพลังอันมองไม่เห็นที่สืบมาจากกรรมในภพก่อน แต่ก็มีจิตอันยิ่งใหญ่ที่สุดคือปรมาตมันเป็นใหญ่อยู่ในสากลโลก จิตอันยิ่งใหญ่นี้แยกเป็นวิญญาณ ส่วนบุคคลเรียกว่าชีวาตมัน ปรมาตมันเป็นอมตะ ไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่มีการทำลายแตกดับแผ่ซ่านทั่วไปโดยปราศจากรูปร่างและเป็นผู้สร้างสากลโลกขึ้นก่อตั้งโดยกณาทะ

          ๔. ลัทธิสางขยะ (Sankhya) มาจากคำว่าสังขยา แปลว่าการนับก่อตั้งโดยกบิลมุนี เป็นลัทธิที่มีอิทธิพลมากพอสมควรในยุคก่อนพุทธกาล แนวปรัชญาของลัทธินี้อยู่ในประเภททวินิยม คือสองส่วนโดยชี้ให้เห็นว่าปุรุษะถูกขังอยู่ในประกฤติ จึงได้ประกอบกรรมอันนำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อทราบดังนี้แล้วจึงต้องพยายามหาทางถอนวิญญาณของตนออกจากวัตถุธาตุทั้งมวล เพื่อเข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณสากล หรือปรมาตมันต่อไป

          ๕. ลัทธิโยคะ (Yoga) ก่อตั้งโดย ฤๅษีตัญชลี ในยุคต้นฝึกบำเพ็ญตบะ โดยหวังไปทางโลกิตสุข ต่อมาฝึกเน้นหนักไปในทางทำจิตให้สะอาดเพื่อจะได้รวมกับพระพรหมในโอกาสต่อไป คำว่าโยคะแปลว่าการดับพฤติของจิต หรือสกัดกั้นความเคลื่อนไหวของจิต ลัทธินี้ให้หลักการไว้ว่า จิตมักจะแสดงอาการให้เห็น ๔ ลักษณะ คือ ๑. พุทธะ ความเข้าใจหรือแน่วแน่ ๒. จิตความตริตรอง ๓. สมฤติ ความระลึกทรงจำ ๔. อหังการ ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ จิตมีฤติ ๔ ประการ คือ ๑.ประมาณความวิปลาส ๒.ความสมมติผิด ๓.ความหลับ ๔.และความระลึกความทรงจำ

          วิธีการของโยคะคือบังคับการระบายและตั้งลมหายใจเข้าออก เพ่งบางส่วนของร่างกายให้เกิดสมาธิ ต้องมีความข่มการดิ้นรนให้หมดไป โดยตั้งใจเพ่งพระอิศวรเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นบุรุษหรืออาตมัน อันพ้นแล้วจากกรรมหรือความเสื่อมเสียทั้งปวง มีทางเข้าถึงโยคะ ๘ สาย การปฏิบัติโยคะนี้ต้องปฏิบัติเป็นขั้น ๆ ไป และจะเกิดความสำเร็จเป็นขั้น ๆ เช่นกัน บางครั้งอาจเกิดมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ขึ้นมา ซึ่งเป็นผลพลอยได้ แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อการดับพฤติของจิต ปัจจุบันลัทธินี้ยังคงแพร่หลาย แม้ในเมืองไทยเราเอง ก็มีการเปิดหลักสูตรโยคะอยู่ทั่วไป

          ๖. ลัทธิมิมางสา (Mimamsa) ลัทธินี้มีหลักคล้ายโยคะมาก ผิดกันเฉพาะตอนที่สอนให้ทำพิธีต่าง ๆ ไม่ได้สอนให้ใช้การเพ่งด้วยการคิดอันเป็นหลักของโยคะ ก่อตั้งโดยไชมินิ จึงไม่มีความสำคัญมากนัก

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน 5171 คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter01_4.php on line 448 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter01_4.php on line 448 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter01_4.php on line 448