ความเข้าใจ "อภิปรัชญา" แยกแยะให้ถูกแล้วจะซึ้งประจักษ์


<
ความเข้าใจ "อภิปรัชญา" แยกแยะให้ถูกแล้วจะซึ้งประจักษ์

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้า

มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)


อภิปรัชญามีความหมายรูปศัพท์ ๔ รูปแบบคือ

๑. อภิปรัชญา
๒. ความรู้ขั้นปรมัตถ์
๓. Metaphysics (Meta ta physics)
๔. อตินทรีย์วิทยา

แยกศัพท์ได้ดังนี้
อภิ + ปฺร + ชฺญา
อภิ แปลว่า ยิ่งใหญ่
ปฺร แปลว่า ประเสริฐ
ชฺญา แปลว่า ความรู้

อภิปรัชญามีศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือ
ปรมัตถ์ แปลว่า “ความรู้ที่มีเนื้อหาลึกซึ้งอย่างยิ่ง”

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Metaphysics ซึ่งมาจาภาษากรีกว่า “Meta ta Physika”
Meta แปลว่า หลังเบื้องหลัง, ล่วงเลย
Physika แปลว่า สิ่งที่รู้สึกด้วยประสาทสัมผัส

ความแตกต่างระหว่างตะวันตกและตะวันออก

อภิปรัชญาทางตะวันออกเรียกว่า “ปรมัตถ์”

อภิปรัชญาทางตะวันตกเรียกว่า “Metaphysics”

เมื่อตะวันออกค้นพบแล้วก็จะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต

แต่ทางตะวันตกไม่ได้นำมาใช้ในการดำเนินชีวิต

ดังนั้นถ้ายึดตามภาษา “อภิปรัชญา” แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง สิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส


นักปรัชญาจึงพยายามบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้คือ “อตินทรีย์วิทยา”
อติ แปลว่า ล่วงเลย
อินทรีย์ แปลว่า ประสาทสัมผัสที่รับรู้ได้

ฉะนั้น อภิปรัชญา เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่

เราสู้ที่จะมาแยกว่าเป็นปรมัตถธรรม ก็คือว่า เป็นความแน่จริงในอริยสัจในธรรมชาติที่ไม่เปลี่ยนแปลง จากที่ว่ามันเปลี่ยนแปลงได้ทุกวินาที ไม่ใช่มายาธรรม เราต้องตามภาวะธรรม เป็นภาวะธรรมที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะแห่งธรรม มี ๒ ส่วน คือ ในส่วนของปรมัตถ์จะไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งห่วย(化)และเหี่ยง(玄) และปรมัตถ์ในส่วนที่จะต้องเปลี่ยนแปลง

ถ้าเป็นภาวะธรรมก็จะเปลี่ยน เช่น เวลานี้ฝนกำลังจะมา ก็ทำให้ท้องฟ้ามืด แต่เราไปเถียงว่าวันนี้ไม่มีพระอาทิตย์อย่างนี้ไม่ได้ แต่ความจริงปรมัตถ์พระอาทิตย์มี แต่ปรากฏการณ์นี่คือห่วย 化 [huà] สรรพสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา (化就是事物的变化和发展) ห่วยนี้เป็นไปตามภาวะธรรม ภาวะธรรมนี้มีเมฆดำเยอะ ท้องฟ้าก็จะมืดอย่างนี้

เหี่ยงคือสูงสุดเป็นปรมัตถ์ คือ จะต้องแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น โลกนี้จะเป็นยังไง พระอาทิตย์ก็ยังอยู่ แต่ลึกกว่านั้นอีกขั้น เป็นปรมัตถ์อีกขั้นหนึ่งคือเป็นขั้นสูงสุดก็คือ อนิจจัง คือ พระอาทิตย์จะต้องมีการระเบิด มีการเปลี่ยนแปลงในจักรวาล ไม่ใช่ตายตัว นี่คือปรมัตถ์

นี่แหละ คนรู้ความจริง ต้องบริหารความจริง ไม่งั้นจะทุกข์เพราะความจริง






Metaphysics กับ อภิปรัชญา สองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร?

เมื่อพิจารณาตามรูปศัพท์ คำว่า “Metaphysics” ในภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมของอภิปรัชญาใช้คำว่า “Meta ta Physika” หรือที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า Metaphysics มีรากศัพท์มาจากคำ ๒ คำคือ

Meta : After, Above (หลัง, เบื้องหลัง, ล่วงเลย)

Physika : Physics = Nature (สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส, สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยอินทรีย์)

เมื่อเป็นเช่นนี้ คำว่า “Metaphysics” จึงหมายถึง “After Physics” แปลว่า “สิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัส, สิ่งที่อยู่หลังฟิสิกส์, สิ่งที่อยู่เบื้องหลังวัตถุ หรือวิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส”

ฝรั่งจะอธิบายความหมาย “Metaphysics” วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัสเช่นนี้ อธิบายอย่างนี้ต่ำกว่าที่จะใช้คำว่า "อภิ" เพราะมันยังอยู่ในรูป

ถ้าฝรั่งบอกว่า อยู่เหนือประสาทสัมผัสแล้วจะบอกว่าเป็นอภิปรัชญา ที่จริงแล้วอภิปรัชญาจะสูงกว่านี้อีก ถ้าสูงกว่านี้ อภิก็คือเป็นปรมัตถ์แล้ว เช่น คำว่า "อภิธรรม" เป็นปรมัตถ์แล้ว เข้าสู่กระบวนการตัวอภิธรรม ถ้าเรานำมาเทียบเคียงกันแล้วก็จะรู้เลย เช่น อธิบายคำว่า "ทุกข์" ตัวเดียวความหมายก็คนละเรื่องกันแล้ว

"ทุกข์" ในความหมายของอภิธรรม หมายถึง สิ่งที่ทนอยู่สภาพนั้นไม่ได้ เป็นภาวะแห่งธรรม เป็นของจริงแท้

"ทุกข์" ความหมายของคนทั่วไป หมายถึง ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเป็นทุกข์ตามอายตนะทั้ง ๖ ซึ่งไม่เป็นปรมัตถ์

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   




 6,806 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย