กลไกลในการป้องกันตัว (Defense Mechanism)


กลไกลในการป้องกันตัว (Defense Mechanism)

กลไกลในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซิกมันฟรอยด์ และบุตรีแอนนา สุรางค์ โค้วตระกูล ในหนังสือจิตวิทยาการศึกษา ในหัวข้อ หน้า ๓๗-๓๙ กล่าวว่า



๑. การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจหรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก จนกระทั่งลืมกลไกป้องกันตัว ประเภทนี้อันตราย เพราะเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมาก และอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้

ถ้าเก็บกดมากรู้สึกไม่สบายใจหรือรู้สึกผิดหวังมากจะเป็นโรคประสาท ถูกต้องเลย แน่นอน สมมติว่ามีพื้นที่ เราเก็บเข้าไปหนึ่งอย่าง ก็จะกินพื้นที่ละ ถ้าครบก็ระเบิด ที่ไม่เพียงพอ เขาเรียกว่าสมองรก ก็เหมือนเมมโมรี่การ์ด (Memory Cards) มันเต็ม

ใครก็แล้วแต่อกหักสักอย่างหนึ่ง แล้วเอาความสูญเสีย เขาก็จะเกิดวิตกกังวล เราจะอกหักหรืออะไรก็ตาม เปรียบเสมือนอาหาร กินเข้าไปมันก็เป็นขี้ แล้วมีขี้เราไม่ระบายออก เราจะทนไหวมั้ย กลไกของร่างกายเขาไม่ต้องการที่จะทำงาน เพราะมัวแต่ไปเศร้าหมอง บางคนก็จะคลื่นไส้ อาเจียน

เก็บกด เดี๋ยวก็บ้า

ขั้นตอนมีดังนี้

วิตก แล้วก็จะกังวล พอกังวลมากก็จะคิดมาก คิดมากก็จะนำไปสู่จิตฟุ้ง จิตฟุ้งก็จะคิดมากก็จะเข้าสู่จิตวิปัสลาส ก็จะเข้าสู่จิตวิปัสลาสแหละ

ปรุงแต่ง คือ สิ่งที่ตัวเราอยาก เราอยากก็จะปรุงเข้าไป

ครอบงำ คือ ความคิดออกไม่ได้ ตัวอย่างเช่น โดนเขาจับมือดึงไว้ เราก็ชักมือออกไม่ได้ นี่แหละคือการครอบงำ

อัตราความกดดัน แรงกดดันก็จะขึ้นไปเรื่อยๆ

ถูกครอบงำไม่ให้เป็นไปตามปกติ เขาเรียกว่า ผิดศีล

ศีลก็คือปกติในธรรม เขาไม่เป็นปกติก็คือผิดศีลละ

ศีล แปลว่า ปกติของธรรม ไปปฏิบัติเพื่อให้ถูกต้องปกติในธรรม

ศีล ๕ คือ นำไปปฏิบัติเพื่อให้ถูกต้องปกติในธรรม

อันนี้เราต้องขอบใจน้องชายเรานะ เราต้องชื่นชมเขา ต้องเห็นเขามีประโยชน์มีคุณค่า ฉะนั้น เราต้องให้เขา ยิ่งเราอยู่บ้านเดียวกันด้วย

แล้วเราไปมองว่า ตัวเองสูงแล้วเขาต่ำ ภูมิต่ำ ชอบไปตำหนิเขาว่าภูมิต่ำ กินปลาหน่อยก็หาว่าเขาภูมิต่ำ เขาไปหาปลามา หาไก่มาทำกิน เดี๋ยวจะหาปลา หาไก่มาทำกิน ก็ไม่ได้ว่าอะไร ถือว่าปกติ

เดี๋ยวนี้ปกติเขาก็ไม่ต้องไม่ชอบ เขาก็ชอบ เมื่อก่อนไม่เจอผู้รู้ก็ไปบวชทุกทีหนา

เราเห็นหรือเปล่าว่า ทำดีผิดภาวะธรรมนี่แหละก่อให้เกิดเป็นทุกข์ ภาวะธรรมตรงนั้น พ่อแม่ยังเป็นอย่างนี้ แล้วตัวเองยังทำเป็นเด่นไป จะทำยังไง อยู่บ้านเดียวกัน

บางคนใส่ชุดขาวตลอด กินเจ

ทุกข์มั้ย เกินภาวะธรรมตรงนั้น เรายังต้องอยู่ด้วยกันอย่างนั้น แล้วอยู่ดีๆ แปลกแยกเฉยเลย ฉันเป็นเทวดา เธอเป็นมาร เขาก็จะบอกว่า ฉันนิสัยไม่ดี อย่างนั้นอย่างนี้ เห็นหรือยังทำดีเกินภาวะธรรม ทำดีเกินภูมิ

ยกตัวอย่าง พ่อก็ต่อว่าให้ไง คือ ยุงมากัดแล้วพี่แล้ว พี่ไม่ตบ แล้วหยิบไปปล่อยข้างนอก พ่อก็บอกว่า อันนี้ก็เกินไป

ถ้าก็ไม่เข้าไป ไม่เป็นทำ ตรงนี้ก็เสร็จ เราไปเคลียร์ปั้บ พ่อแก่เข้าใจ ดีกลับมา เขาทำให้เขาเข้าใจผิดเลย ต่อต้านพระแม่อุมาฯ เขาคิดว่าพระแม่ทำให้เขาเป็น แล้วพระแม่ฯ บอกให้ดูถูกพวกเขา แล้วเขาจะยอมได้ยังไง

คนเราชอบไปทำให้เขาเป็นไป เข้าใจเปล่า สื่อให้เขาเป็นไป แต่ดันบอกว่าเขาเป็น ส่วนหนึ่งเขาเป็นเพราะเรา เข้าใจมั้ย ถูกครอบงำ เหมือนกับเอาแว่นตาดำมาใส่ สีดำมันครอบงำ มองอะไรเป็นสีดำไปหมด ถึงแม้เป็นขาวก็มองไม่ออก สิ่งที่เขาดีก็มองไม่ออก

พอฟังผู้รู้พูด เก็บเอาไปคิด ไม่เห็นเป็นอย่างนั้นสักหน่อย อันนั้นเป็นภาวะการณ์หนึ่งของธรรมเท่านั้นเอง ช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนความคิด เขาก็ไม่ได้คิดอย่างนั้นซักหน่อย มันเป็นความคิดช่วงหนึ่ง ถ้าเขาให้ความคิดนั้นครอบงำ เขาก็ตาย เหมือนกับว่าเราติดคุกไปเลยอ่ะ เข้าใจยัง

สำคัญมากนะ คนที่ถูกอดีตครอบงำ ที่อะไรบางอย่างเหนี่ยวรั้งแล้วกลายเป็นคนละคน บางคนไปทำอันนั้นแล้วเกลียดผู้ชายเลย

ตัวเองเกลียดพ่อจริง เดี๋ยวนี้ยังเกลียดอยู่ไหม เดี๋ยวนี้ไม่เกลียดแล้ว ผู้รู้ด่าไม่รู้เท่าไหร่แล้ว ขนาดตอนนั้นเขามาใจยังไม่ยอม

ตะก่อนติดต่อพี่ตั้งแต่เด็ก พี่ยังไม่ยอม ไม่ให้เจอหน้า พอมาเจอตอนนี้พี่ก็ซื้อของให้ ซื้ออะไรให้ สร้างกุศลให้ พ่อก็ดีใจเปลี่ยนจากคนนั้น มาเป็นคนอย่างนี้ อย่างปฏิบัติ ใส่ชุดขาว ไหว้พระ เขาบอกว่า ภูมิใจในลูกของเรา

ถึงแม้เราไม่ดี เราไม่ได้สั่งสอนมันยังได้ดี เลยตัวเองบั้นปลายชีวิตอยากได้ดีมั้ง แล้วอย่างนี้เป็นกุศลไหม ถ้าเราไม่ไปเจอพ่อ อันนั้นเป็นอกุศลมั้ย ทำให้เขายิ่งจมปลัก ไม่ดี ในเมื่อไม่ดีก็ให้มันชั่วไปเลย ชั่วไปสุดๆ เลย ใครไม่เห็นความดี ถึงทำไป

เดี๋ยวนี้มาเห็นความดีของลูก โอ้!! ไม่ได้โว้ย ต้องทำดี ถ้าไม่ทำดีเดี๋ยวลูกไม่รัก ไม่อยากให้ลูกเสียใจล่ะ เพราะเราเคยทำให้เขาเสียใจแล้ว เวลานี้ไม่อยากทำล่ะ

เดี๋ยวนี้พ่อเขาก็บอกอยู่นะว่า เขาได้ทำผิด

ถ้าพ่อไม่เปลี่ยนความคิดตรงนี้ เขาก็ไม่เปลี่ยนแปลงหรอก

พ่อยังยอมรับผิดอย่างนี้ พ่อยังเก่งกว่าเอ็งเลย ทำไม ? บางสิ่งบางอย่างเรา ยังปิด ซ่อนๆ อยู่นั่นแหละ ไม่ยอมรับผิดซักที

พอเราไม่ใจแคบ แต่ใจกว้าง เรามีการให้อภัย เข้าใจว่า นั่นเป็นภาวะธรรมหนึ่งๆ ทุกคนต้องเป็นไปอย่างนั้น พอเราให้อภัยให้โอกาส แล้วชี้นำด้วย ไม่ใช่เฉพาะพ่อ อีก ๖ คนตามมา เห็นเป็นกุศลหรือว่าเป็นบาป ก็ต้องเป็นกุศล

แล้วทำไมเพิ่งมาทำ เพราะว่าหัวมันถูกครอบงำไปหมด ข้างนอกบำเพ็ญไปเรื่อย เข้าวัดก็เข้า บวชก็บวช ดันตรงสำคัญตรงนี้ไม่ได้เอาออก พอตรงนี้ไม่ได้เอาออก ตรงนี้เป็นมิจฉาไปหมด ไปเสริมให้ตัวเองทนง ทนงว่าดี สูงกว่า ยิ่งไปกันใหญ่เลย เพราะว่ามันเจอตีน มันจึงต้องกลิ้งลงมา



๒. ป้ายความคิดให้กับบุคคลอื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล โดยการป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น ตัวอย่าง ถ้าตนเองรู้สึกเกลียดหรือไม่ชอบใครที่ตนควรจะชอบก็อาจจะบอกว่า คนนั้นไม่ชอบตน เด็กบางคนที่โกงในเวลาสอบก็อาจจะป้ายความผดหรือใส่โทษว่าเพื่อนโกง

เป็นการโยน หาแพะรับบาป



๓. หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ตีลูก มักจะบอกว่าการตีทำเพื่อเด็ก เพราะเด็กต้องการ การทำโทษเป็นบางครั้งจะได้เป็นคนดีพ่อแม่จะไม่ยอมรับว่าตีเพราะโกรธลูก นักเรียนที่สอบตกก็อาจจะอ้างว่าไม่สบาย แทนที่จะบอกว่าไม่ได้ดูหนังสือ

เขาเรียกว่า แขวนป้าย



๔. การถดถอย (Regression) หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้คนมีความสุข ตัวอย่างเช่น เด็ก 2-3 ขวบ ที่ช่วยตนเองได้ มีน้องใหม่ เห็นแม่ให้ความเอาใจใส่กับน้องมีความสุขว่าแม่ไม่รักและไม่สนใจตนเท่าที่เคยได้รับจะมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ในวัยทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องให้แม่ทำให้ทุกอย่าง

ปลอบประโลมใจ เช่น ตอนนี้ก็ไม่มีข้าว ก็ไปนึกถึงตอนที่เรากินเยอะๆ เราก็รู้สึกอิ่มได้




๕. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้างกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึง กลไกลป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเองที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ ตัวอย่างแม่ที่ไม่รักลูกคนใดคนหนึ่งอาจจะมีพฤติกรรมตรงข้าม โดยการแสดงความรักมากอย่างผิดปกติ หรือเด็กที่มีอคติต่อนักเรียนต่างชาติที่อู่ในโรงเรียนเดียวกัน การจะแสดงพฤติกรรมเป็นเพื่อนที่ดีต่อนักเรียนผู้นั้นโดยทำตนเป็นเพื่อนสนิท เป็นต้น

เสแสร้ง โกหกหลอกลวง เช่น ที่จริงก็อยากได้ตรงนี้ แล้วเราบอกว่าเราไม่อยาก ไม่ได้แยแสมือถือ




๖. การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) หมายถึง กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการสร้างจินตนาการ หรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น จึงคิดฝัน หรือสร้างวิมานในอากาศขึ้นเพื่อสนองความต้องการชั่วขณะหนึ่งเป็นต้นว่า นักเรียนที่เรียนไม่ดีอาจจะฝันว่าตนเรียนเก่ง มีมโนภาพว่าตนได้รับรางวัล มีคนปรบมือ ให้เกียรติ เป็นต้น

หาสิ่งชดเชย เช่น เรากินสะเต็กไม่ได้ เวลานี้เนื้อหมูอันหนึ่งเรานึกว่าให้เป็นสะเต็ก




๗. การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง ตัวอย่างเช่น เด็กที่คิดว่าพ่อแม่ไม่รักอาจจะแยกตนปิดประตู อยู่คนเดียว

หลบหลีก หนี แกล้งบ้า เช่น พวกที่บ้าทั่วไป เป็นภาวะการณ์หนึ่งของการหนี หนีจากสภาวะจริง แกล้งบ้า บ้าจริงๆ ก็มี บ้าจริงๆ ก็เหมือนกัน คือ หนี หลบหลีกกับภาวะการณ์นั้นๆ คือไม่รับรู้กับภาวะการณ์นั้นแล้ว

มีแกล้งบ้า กับบ้าจริง บ้าจริงควบคุมไม่ได้ ไปเลย อันนี้แกล้งบ้า คือ ควบคุมได้




๘. การหาสิ่งแทนที่ (Displacement) หมายถึง เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เป็นต้นว่า บุคคลที่ถูกนายข่มขู่หรือทำให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้นอาจจะใช้ภรรยาหรือลูกๆ เป็นแพะรับบาป เช่น อาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อภรรยาและลูกๆ นักเรียนที่โกรธครูแต่ทำอะไรครูไม่ได้ ก็อาจจะเลือกสิ่งของ เช่น โต๊ะเก้าอี้ เป็นสิ่งแทนที่ เช่น เตะโตีะ เตะเก้าอี้

หาสิ่งทดแทน เช่น เราไม่ชอบตรงนี้ เราจะทิ้งตรงนี้ เราก็เสียดาย ทีนี้เรายั้วะเมียจะตีเมียก็ไม่ได้ เอาของไปตีซะ ชดเชย บางครั้งหาคนไปชดเชย สมมติว่าตรงนี้อันตราย เราไป คือให้อีโดนแล้วเรารอด สมมติว่า ไปแล้วตำรวจจับ พอตรงนี้วุ่นวาย เราก็ผ่านได้ นี่เป็นจริตของสัตว์โลก หนีไม่พ้นการอยากอยู่รอด

๙. การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง ตัวอย่างเช่น เด็กชายจะพยายามทำตัวให้เหมือนพ่อ เด็กหญิงจะทำตัวให้เหมือนแม่ ในพัฒนาการขั้นฟอลลิคของฟรอยด์ การเลียนแบบนอกจากจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมือนบุคคลที่ตนเลียนแบบ แม้ยังจะยึดถือค่านิยมและมีความรู้สึกร่วมกับผู้ที่เราเลียนแบบในความสำเร็จ หรือล้มเหลวของบุคคลนั้น การเลียนแบบไม่จำเป็ฯต้องเลียนแบบจากบุคคลจริงๆ แต่อาจจะเลียแบบจากตัวเอกในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ โดยมีความรู้สึกร่วมกับผู้แสดงเมื่อประสบความทุกข์ ความเศร้าเสียใจ หรือเมื่อมีความสุขก็จะพลอยเป็นสุขไปด้วย

หลอกตัวเอง หลอกสิ่งแวดล้อม เช่น เราไปเจอวัวกับอึ่งอ่าง อึ่งอางก็จะพองตัว ทำให้ตัวมันใหญ่ หลอกฝ่ายคู่ต่อสู้ เราดูเสือ ดูแมว หางมันจะต้องพองตัว มันทำตัวให้ใหญ่

ทั้งหมดที่ว่ามาเพื่อให้อยู่รอด

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,694







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย