ความเข้าใจ "พระราหู" ที่ถูกต้องในธรรม


<
พระคาถาพ่อราหู

โอม อะสุรินทะราหู, วิชิตตะ พาโล, อะวะมงคล จะ, เอวัง โหนตุ, ศรีชัยยะ มาเรติ, ไมตรี กัลละยาณะมิตตะ, มุฑิตา นะ สะหาโย, ศานติ ศานติ สันติโอม นะมะฮา ๛ (8 จบ)

ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชา พ่อราหู ด้วยจิตศรัทธา โองการจากมหาเทพทั้ง ๓ พ่อพรหม พ่อศิวะ พ่อวิษณุนารายณ์ ประทานพรให้เป็นเทพ ผู้ขจัดเคราะห์ภัย คุณไสยน์ มนต์ดำ อาถรรพ์เวทย์ พลังลบ พลังดำ ให้แก่มวลมนุษย์ ผี และเทวดา และช่วยเหลือให้ปลอดภัย ให้เป็นสิริมงคล ให้เกิดอยู่อย่างสันติ

บัดนี้ ลูกขอตั้งจิตอธิษฐาน เจริญมุฑิตาจิต ปลดทุกข์ บำรุงสุขให้กับชาวโลก ขจัดภัยทั้งหลาย บำรุงสุขทั้งปวง

บัดนี้ ลูกขอน้อมถวายของบูชา (ชื่อของถวาย...) ขอองค์พ่อโปรดเมตตารับ และขอบารมีองค์พ่อฯ โปรดเมตตาประทานพร ขจัดเคราะห์ภัย อันตรายทั้งปวง เป็นสิริมงคล ให้มีโชคลาภวาสนา ยศฐาบรรดาศักดิ์ สมหวังปรารถนา หนุนเสริมดวงชะตา พลิกจากร้ายกลายเป็นดี ค้าขายราบรื่น เหลือกินเหลือใช้ ปลอดโรค-ทุกข์-ภัย มีจิตมั่นคง รักสามัคคีในตน ครอบครัว สังคม และชาวโลก สุขสันติ สุขสันติ สันติสุข โอม๛



หัวใจของการบูชาพระราหู

ท่านพ่อราหูท่านได้รับโองการจากมหาเทพทั้ง ๓ พ่อพรหม พ่อศิวะ พ่อวิษณุนารายณ์ ให้ดูแล ขจัดเคราะห์ภัย ปลดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน
จุดมุ่งหมายในการบูชาพระราหู คือ ให้ท่านคลายความสว่างให้กับชีวิต เพื่อให้เกิดปัญญาแก่ตัวเรา ซึ่งลักษณะของพระราหู คือท่านจะอมพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ครึ่งหนึ่ง และอีกลักษณะหนึ่งท่านกำลังคลายพระอาทิตย์และพระจันทร์ออกมาได้ครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน เป็นปริศนาธรรมสื่อว่า ช่วงหนึ่งหรือห้วงหนึ่งของชีวิตเรา หรือดวงชะตาของเรา ตกชะตาราหู คือ เข้าสู่ความดำ ความมืดมน มองไม่เห็นเส้นทาง มืดแปดด้าน พบปัญหาอุปสรรคต่างๆ มารุมเร้า หาทางออกไม่เจอ ขาดสติปัญญา

ฉะนั้น เราจึงควรบูชาพระราหูเพื่อให้ท่านคลายแสงสว่างให้แก่ชีวิต คลายภาวะ โอกาสต่างๆ ให้กับเรา เพื่อให้เราพบปัญญา พบผู้รู้ นักปราชญ์ กัลยาณมิตร ให้กับเรา ในการชี้แนะแนวทาง สั่งสอน จูง นำ พา ส่งเราไปยังถึงอีกฟากฝั่งหนึ่ง ในการเกิดปัญญา แก้ไขขจัดปัญหาต่างๆ ได้ พบแสงสว่างแห่งปัญญาในชีวิต

หากจะมีคนถามว่า ทำไมพระราหูเป็นสัญลักษณ์ในความไม่ดี แต่ทำไมต้องบูชาท่าน เคารพนับถือท่าน เราควรพิจารณาอย่างนี้ อย่างเช่น ในอดีตประเทศจีน มีสำนักคุ้มกันภัย รับคุ้มกันสิ่งของ ส่งของจากเมืองนี้ไปยังเมืองโน้นได้โดยไม่ถูกโจรปล้นเอา ก็เพราะว่าสำนักคุ้มกันภัยรู้จักไม้อ่อนไม้แข็ง เคารพเจ้าที่เจ้าทาง หากที่แห่งนั้นเป็นเขตอาณาบริเวณของโจร เจ้าสำนักคุ้มกันภัยก็จะไปผูกมิตรไมตรี ผูกน้ำจิตน้ำใจกับโจรไว้ เมื่อเราเดินทางผ่านเขตของโจรกลุ่มนั้น เขารู้ว่าเป็นสำนักคุ้มกันภัยที่เป็นมิตรก็จะปล่อยผ่านไปไม่ปล้นแย่งชิงมา แต่ผิดกับราชสำนัก หรือพ่อค้าทั่วไป ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ ก็มักจะถูกโจรปล้นชิงสินค้าอยู่บ่อยๆ

ฉะนั้น เราไหว้พระราหู เพราะว่าพระราหูท่านรู้จักความชั่วต่างๆ ดี เพราะท่านก็เคยเป็น สัมผัสมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ หลง ท่านรู้และเข้าใจดี แล้วเราบูชา ไหว้ เคารพนับถือท่าน ความชั่วร้ายต่างๆ ก็ย่อมรู้จักพระราหูดีก็ไม่กล้ามาตอแย เพราะจะทำสิ่งใดพระราหูก็จะรู้หมด เช่นเดียวกับเราบูชาพระราหู ถือว่าท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของเรา เมื่อสิ่งชั่วร้ายต่างๆ จะมาทำร้ายเรา เห็นว่าเรามีผู้หลักผู้ใหญ่เป็นพระราหู สิ่งชั่วร้ายนั้นก็เกรงกลัวบารมีของพระราหู จากหนักก็ผ่อนเป็นเบา จากเบาก็จะหาย



ประวัติพระราหูจากคัมภีร์
เป็นพี่น้องของพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ทุกคนให้ความเคารพ แต่พระราหูเกิดมาท่อนล่างเป็นงู ที่นี้ถูกต่อว่าอยู่เรื่อยๆ จึงเเตองมารังแกอมพระอาทิตย์ พระจันทร์ แก้แค้นแทนแม่ พูดง่ายๆ แม่ท่านเป็นเมียน้อย ตามตำราเขาแต่ง ท่านก็มีฤทธิ์เดช และต่อมาก็ถูกพระนารายณ์ตัดหาง เพราะว่าดื้อพระนารายณ์บอกให้ปล่อยไม่ยอมปล่อย พระนารายณ์เลยปล่อยจักรไปตัด เหลือแต่หัว

เราไหว้พระราหู ท่านดำ เปรียเสมือนเงา เป็นเหงาของพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราหูก็เปรียบเสมือนโรคก็มีโลภ โกรธ หลง อิจฉา ริษยา อะไรต่างๆ พระราหูจะเป็นคนคอยควบคุม เพราะว่าท่านเคยผ่านโลกิยะจึงยกให้ท่านควบคุมดูแล

พระราหูองค์ดำกับองค์ทอง องค์ทองคือราหูที่กลับใจแล้วเป็นราหูที่ดีแล้ว พูดไปแล้วพระราหูก็เป็นลูกน้องของพระนารายณ์ เพราะตอนนั้นท่านเกเรเลยถูกตัด แล้วท่านก็พูดว่าทำไมต้องถูกท่านทำอย่างนั้น พระนารายณ์ก็บอกว่า พระราหูไม่ไปทะเลาะกันอีกก็จะประทานพรให้มีหน้าที่ในการดูและตรงนี้ ถ้าหากใครเคราะห์ไม่ดี อย่างนั้นอย่างนี้ ต้องมาไหว้พระราหู แล้วพระราหูช่วยเขาได้ ให้ท่านมีตำแหน่งเทพ ตำแหน่งเทวดาเพื่อปลอบใจให้มีหน้าที่ ท่านจึงมีหน้าที่ตรงนี้

พอตรงนี้มีสัญลักษณ์สีดำ เงา ทางไม่ดี ที่นี้ท่านประทานพรให้ดีแล้ว คือสัญลักษณ์สีทอง


ตำนานประวัติของพระราหู

ตำนานที่ ๑ ราหูเกิดจากพระศิวะ
พระศิวะได้นำกระโหลกผีโขมด จำนวน ๑๒ หัว มาบดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีทอง บางแห่งก็บอกว่าห่อด้วยผ้าสีดำแล้วประพรมน้ำมนต์อมฤต จึงเกิดพระราหูขึ้น ซึ่งพระราหูจะมีหน้าตาเป็นแทตย์ (หน้าดุคล้ายยักษ์) มีครุฑเป็นพาหนะ

ตำนานที่ ๒ ทางไสยาศาสตร์
พระราหูเป็นบุตรของท้าววิประจิตติ กับนาง สิงหิกา เกิดมามีหางเป็นนาค มีมือสี่มือ บางตำราก็กล่าวว่า เป็นบุตรของพระพฤหัสบดีกับนางอสูร อยู่ในอากาศวิมานเป็นสีนิล นั่งเหนือเมฆหมอก มีกายสีทองสัมฤทธิ์ (ดำหลัว) มีสุวรรณ (ทอง) เป็นอาภรณ์ (เสื้อผ้า) มีท่อนหัวอยู่ครึ่งตัว


ตำนานที่ ๓ พระพุทธองค์โปรดอสุรินทราหู

ในสมัยหนึ่งพระพุทธองค์ประทับ ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ส่วนอสุรินทราหูอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

อสุรินทราหูได้ยินกิตติศัพท์พระพุทธองค์จากการแซ่ซ้องสรรเสริญของเหล่าเทวดาทั้งหลายว่า เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง อสุรินทราหูได้จึงมีความปรารถนาที่อยากจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ก็คิดว่าพระวรกายของพระพุทธเจ้าทรงเล็กเพียงนิดเดียวเมื่อเทียบกับเรา เราก็ต้องก้มตัวแลดูพระพุทธองค์ ซึ่งเราก็ทำได้ลำบากยากยิ่ง และอสุรินทราหูไม่เคยยอมก้มหัวให้ใครง่ายๆ

แต่ด้วยได้ยินเสียงเทวดาต่างๆ พูดมากขึ้นเรื่อยๆ อสุรินทราหูทนไม่ไหวจึงเหาะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทราบความว่าอสุรินทราหูจะเข้าเฝ้าพระองค์ พระพุทธองค์จึงได้ทรงเนรมิตรพระกายใหญ่กว่าอสุรินทราหูหลายเท่า และพระพุทธเจ้าได้ตัดสินพระทัยสำแดงอิริยาบถนอนตะแคงขวา (สีหไสยาสน์) พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกัน พระหัตถ์ทาบทอดไปตามพระกาย พระกัจฉะ (รักแร้) ทับบนพระเขนย อุ้งพระหัตถ์ขวาขึ้นประคองพระเศียรให้ตั้งขึ้น ให้อสุรินทราหูเห็น เพื่อกำหลาบทิฏฐิมานะ เมื่ออสุรินทราเข้ามาเห็นพระพุทธเจ้าซึ่งไม่เป็นไปตามที่ตนเองคิดไว้และอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมากที่พระกายของพระพุทธองค์ใหญ่กว่าตัวเองหลายเท่า เปรียบเสมือนทารกแหงนมองพระจันทร์ ฉันนั้น และมีพระพุทธลักษณะอันงดงาม พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาโปรดอสุรินทราหูว่า

"บุคคลทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวเล่าลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หากยังไม่ได้เห็น ยังไม่พิจารณาให้ถ่องแท้แก่ใจตนเองแล้ว ไม่พึงติชมก่อน อสุรินทราหูท่านคงเข้าใจว่าท่านมีร่างกายใหญ่กว่าเทพยดาและอสูรทั้งหลาย จริงอยู่บรรดาพวกอสูรทั้งหลายในอสูรพิภพนั้นมีร่างกายเล็กกว่าท่าน แต่ท่าคิดหรือเปล่าว่า ในที่อื่นอาจมีผู้ที่มีร่างกายใหญ่กว่าท่าน เหมือนปลาใหญ่ในหนองคลองบึง มันอาจคิดว่าตัวมันโตกว่าปลาทั้งหลาย ไม่มีปลาตัวใดจะเสมอได้ เพราะมันยังไม่ได้ไปเห็นปลาในมหาสมุทร

อสุรินทราหู บรรดาพรหมทั้งหลายในพรหมโลกชั้นบนทั้งหมดล้วนมีร่างกายใหญ่กว่าท่าน ถ้าท่านมีวามปราถนาจะได้ดู ได้ชม ตถาคตจะพาไปดู"

เมื่ออสุรินทราหูได้ฟังเช่นนี้ก็อยากไปดูด้วยตาตนเอง พระพุทธองค์จึงได้ทรงนำอสุรินทราไปยังพรหมโลกประจักษ์แก่สายตาตนเอง และพูดกับตนเองว่า
"แม้มหาพรหมทั้งหลายจะมีร่างกายใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูตั้งร้อยเท่า พันเท่า แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับมีพระวรกายใหญ่กว่ามหาพรหมเหล่านั้นทั้งหมด แต่อสุรินทราหูกลับยังมีร่างกายเท่าเดิม มีความหวาดกลัวตัวสั่นเทา หลบอยู่หลังพระพุทธเจ้า ปรากฏเหมือนแมงมุมเกาะอยู่ที่ชายจีวรของพระพุทธเจ้าฉะนั้น"
ด้วยเหตุนี้ อสุรินทราหูจึงยอมลดมานะทิฏฐิของตน และเลื่อมใสพระพุทธองค์และเปล่งกล่าวปฏิญาณนับถือไตรสรณคมณ์เป็นสรณะ


สาเหตุพระราหูมีกายครึ่งตัว

ตำนานที่ ๑ มีจิตใจอยากเป็นใหญ่ พระราหูมีกายครึ่งตัวเกิดจากเห็นพระศิวะท่านประสาทพรได้ สาปใครเป็นอะไรก็ได้ ชุบชีวิตใครขึ้นมาก็ได้ พระราหูท่านก็อยากทำได้บ้าง จึงคิดพิจารณาไปมาคิดว่า น่าจะเกิดจากอ่างแก้วเก็บน้ำท้ายปรางค์ปราสาทของพระศิวะ พระราหูจึงบันดาลให้ฟ้ามืดมัวแล้วท่านก็เหาะลงไปอาบและดื่มน้ำนั้นอย่างสำราญใจ ฝ่ายเทวดา นางฟ้า เห็นท้องฟ้ามืดมัว อากาศวิปริตเช่นนั้นก็พากันร้องวีดว้าย พระศิวะทราบความจึงส่องข่ายพระญาณก็รู้ว่าพระราหูมาขโมยอาบน้ำและดื่มน้ำอมฤตนี้ พระศิวะจึงขว้างจักรไปถูกกายของพระราหูขาดเป็นสองท่อน

ตำนานที่ ๒ ช่วยเหลือเพื่อนผู้เดือดร้อน ทางโหราศาสตร์เกี่ยวกับเทวดานพเคราะห์ กล่าวว่าในอดีตกาลสมัยหนึ่งพระราหู พระเสาร์ พระอาทิตย์ พระพฤหัสบดี เป็นเพื่อนกัน พระเสาร์กำเนิดเป็นพญานาค รักษามหาสุมทร พระอาทิตย์เกิดเป็นพญาครุฑรักษาเขาสัตนาปริพันธ์ พระพฤหัสบดีเกิดเป็นพระอินทร์รักษาเขาพระสุเมรุ อยู่มาคราวหนึ่ง พญาครุฑอยากจะกินพญานาค พญาครุฑจึงจะจับพญานาคกินเอาดื้อๆ พญานาคสู้ไม่ได้จึงหนีไปขอความช่วยเหลือจากพระราหู พระราหูจึงออกมาต่อสู้กับพญาครุฑ พญาครุฑต่อสู้ไม่ได้ จึงไปขอความช่วยเหลือจากพระอินทร์ ฝ่ายพระราหูไล่ติดตามไปเรื่อยๆ ระหว่างทางเกิดหิวน้ำขึ้นมา จึงแวะลงไปดื่มน้ำอมฤตในสระ พระอินทร์ซึ่งเป็นผู้เฝ้าดูแลสระน้ำนี้เห็นเข้าก็เกิดความพิโรธ ขว้างจักรเพชรถูกกายของพระราหูขาดเป็นสองท่อน

ตำนานที่ ๓ แอบดื่มน้ำอมฤตเพื่อนจับได้ เกิดจากพวกเทวดาและอสูรทั้งหลายร่วมกันตั้งพิธีกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต ซึ่งอยู่ในปางที่ ๒ กูรมานวตาร ของพระนารายณ์ (ปางเกิดเป็นเต่า) พระราหูได้แปลงกายเป็นเทวดาเข้าร่วมในงานพิธีดื่มน้ำอมฤตครั้งนี้ด้วย พระอาทิตย์กับพระจันทร์เห็นพระราหูมีแต่เงาแอบมาดื่มน้ำอมฤต ก็รู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่พวกเทวดาแน่นอน เพราะเทวดาไม่มีเงา จึงฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์ก็กริ้วจัด ขว้างจักรถูกกายของพระราหูขาดเป็นสองท่อน แต่ไม่ตาย เพราะได้ดื่มน้ำอมฤตนี้แล้ว ท่อนหัวก็ลอยอยู่ในอากาศคอยจับกินพระอาทิตย์กับพระจันทร์เพราะแก้แค้น ส่วนหางนั้นได้กลายเป็นดาวพระเกตุ

ลักษณะรูปร่างของพระราหู


ลักษณะรูปร่างของพระราหูในมีด้วยกัน ๒ แบบ คือ

ลักษณะแบบที่ ๑ ใบหน้าดุคล้ายอสูรหรือยักษ์ มีเขี้ยว สวมศิราภรณ์ ต่างหู และเครื่องประดับครบครัน ร่างกายท่อนบนกำยำแข็งแรง ร่างกายท่อนล่างตั้งแต่ใต้สะดือลงไปเป็นหางนาค หรืองูใหญ่ กายสีควันไฟ สีนิล สีดำ สีดำแดง สีเขียว หรือบางครั้งเป็นสีทองสัมฤทธิ์ มี ๒ แขนบ้าง ๔ แขนบ้าง นิ้วมืออยู่ในท่าวรทะ มุทรา หรือปางประทานพร

อาวุธ ขัฑคะ (ดาบยาว ดาบสั้น) เขฏกะ (โล่รูปสี่เหลี่ยม โล่รูปไข่) ศูลหรือตรีศูล (เหล็กแหลมสามง่าม) คทา (ไม้กระบอง)

สิ่งของ ผ้าขนแกะ หนังสือ

พาหนะ นั่งบัลลังก์รูปสิงห์ เต่า ราชรถสีเงินเทียมม้าดำ ๘ ตัว

บริวาร งู ๑ ตัว
ลักษณะแบบที่ ๒ ช่างนิยมทำเป็นรูปยักษ์อสูร มีเขี้ยว กำลังใช้มือแต่ละข้างจับพระอาทิตย์และพระจันทร์ ตั้งท่าหมายจะกลืนกินและคลาย

แรงอธิษฐาน
ในไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา กล่าวถึงประวัติความเป็นมาอดีตชาติของพระราหู ดังนี้


เรื่องไม่ได้ดั่งใจ
มีคหบดีคนหนึ่ง อยู่เมืองหงสาวดี มีลูกชาย ๓ คน คือ คนโตชื่อว่าวิสัฏฐิรกุมาร คนกลางชื่อเจ้าถูลกุมาร และคนสุดท้องชื่อว่าเจ้าวุฑฒะกุมาร คนสุดท้องมีพละกำลังมากกว่าพี่ชายสองคน

ต่อมาวันหนึ่งทั้งสามคนนี้จะทำอาหาร ก็มีการจัดสรรแบ่งงานกันทำ แต่น้องเล็กสุดทำงานไม่ได้ดั่งใจ พี่ทั้งสองจึงได้ทุบตีน้อง น้องไม่พอใจ อาฆาต แค้นพยาบาท จองเวร ว่า หากชาติหนึ่งชาติใดขอให้เราได้ข่มเหงพี่ชายทั้งสองเหมือนกับที่ท่านทำกับเราดังนี้

พระพุทธเจ้าจึงเฉลยว่า เจ้าวุฑฒะกุมาร คือ พระราหู เจ้าวิสัฏฐิรกุมาร คือ พระอาทิตย์ เจ้าถูลกุมาร คือ พระจันทร์


เรื่องตักบาตรร่วมกัน

อดีตกาลครั้งหนึ่งสมัยพระพุทธเจ้าเวสสะภู พระราหู พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ได้ร่วมกันตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ ในครั้งนั้น พระอาทิตย์ใส่บาตรด้วยภาชนะทองคำ พระจันทร์ใส่บาตรด้วยภาชนะเงิน ส่วนพระราหูใส่บาตรด้วยโอ (บางกล่าวว่า กะลา) เมื่อทั้งสามตักบาตรแล้วต่างคนก็ต่างอธิษฐาน แต่พระราหูอธิฐานว่า หากชาติหน้าชาติหนึ่งชาติใดขอให้เกิดมาร่างกายใหญ่โต เพราะจะได้ไม่มีใครมารังแกข่มเหงเหมือนกับชาตินี้

ด้วยบุญกุศลนี้จึงดลบันดาลให้พระอาทิตย์มีรัศมีดุจสีทอง พระจันทร์มีรัศมีดุจสีเงิน ส่วนอสุรินทราหูมีร่างกายใหญ่โตสมดั่งที่อธิษฐานไว้ทุกประการ



เรื่องติดหนี้พระราหู

พระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระราหูเป็นพี่น้องกัน โดยพระราหูเป็นน้องเล็ก ต่อมาพี่ชายทั้งสองมาขอกู้ทรัพย์จากพระราหู ๑,๐๐๐ ตำลึง เพื่อนำไปสร้างมณฑป และวิหารถวายวัดในพระพุทธศาสนา แต่ครั้นกาลเวลาผ่านไป พี่ชายทั้งสองก็ไม่ได้นำเงินมาคืน ทำให้พระราหูโกรธจัดที่พี่ชายทั้งสองไม่รักษาสัจจะ จึงตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ชาติหน้าของให้พี่ชายทั้งสองนี้เกิดมาเป็นคนรับใช้ตนในฐานะลูกหนี้ ไม่ใช่พี่น้องกันอีกต่อไป

ด้วยเหตุนี้ พระราหูจึงพยายามไล่จับพระอาทิตย์กับจันทร์ทุกชาติไป ทำให้พี่ทั้งสองผวาหวาดกลัวพระราหู เพราะไม่ได้ใช้หนี้พระราหู


พระราหูอนาคตเป็นพระพุทธเจ้า

คัมภีร์อนาคตวงศ์ได้กล่าวถึงอดีตของอสุรินทราหูที่ครั้งเสวยเป็นพระโพธิสัตว์ว่า อสุรินทราหูได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศน์ เช่นเดียวกับพระพุทธองค์ และจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระนารทะสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในอดีตชาติ อสุรินทราหูทรงถือกำเนิดเป็นพระราชามีพระนามว่าพระยาสิริคุตตมหาราช แห่งมัลลนคร พระมเหสีนามว่า ลัมภุราชเทวี มีพระโอรสนามว่า นิโครธกุมาร และพระธิดานามว่าโคตมี

อยู่มาวันหนึ่งมีพราหมณ์ ๘ คนได้มาเฝ้าถวายบังคมและทูลขอพระนคร พระองค์ได้มอบพระนครให้พราหมณ์ ๘ คนนี้ครองเมือง พระองค์พร้อมด้วยพระมเหสี พระราชโอรสและพระราชธิดา เสด็จออกจากพระนครไปรักษาศีลอยู่ ณ อาศรมพระธรรมิกบรรพต

ในกาลนั้นยักษ์ตนหนึ่งหิวโหยมาก มาขอพระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์ก็มอบให้ พร้อมทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกที่ปฐพีให้เหล่าเทวดาทั้งหลายเป็นพยานในมหาทานครั้งนี้
จากนั้นยักษ์ก็นำพระราชโอรสและพระราชธิดาไปกินเป็นภักษาหารอย่างเหี้ยมโหด แต่พระองค์ก็ทรงไม่แสดงอาการหวั่นไหว และพระองค์ยังชื่นชมในมหาทานกุศลในครั้งนี้ว่า

"ข้าแต่หมู่เทวดาผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานของเราประเสริญแท้"

ด้วยทานบารมีในครั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า พระยาสิริคุตตมหาราชหรืออสุรินทราหูจะได้บรรลุมรรคผล ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลครั้งหน้ามีพระนามว่า พระนารทะสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ในอนาคตกาล ในคัมภีร์อนาคตวงศ์นั้น ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอนาคต ๑๐ พระองค์ที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ดังนี้

๑. พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือพระอชิตเถระ (เป็นคนละองค์กับชื่อที่ปรากฏในพระไตรปิฎก)

๒. พระรามะสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออุตมรามราช

๓. พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าปเสนทิโกศล

๔. พระธรรมสามีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออภิภูเทวราช

๕. พระนารทะสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออสุรินทราหู

๖. พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือจังกีพราหมณ์

๗. พระเทวเทพสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือสุภพราหมณ์

๘. พระนรสีหสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือโตเทยยพราหมณ์

๙. พระติสสสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือช้างนาฬาคีรี

๑๐.พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือช้างปาลิไลยกะ



การไหว้บูชาด้วยของดำ

ทำไมเราจึงต้องไหว้พระราหูด้วยของดำ เพราะเป็นสัญลักษณ์ปริศนาธรรม ที่ท่านพ่อราหูประทานปัญญาแสงสว่างท่ามกลางความมืดมิด อวิชชา ความไม่รู้ต่างๆก็จะคลายหายไป และเป็นโอกาสที่จะให้เราได้ตั้งปณิธานละสิ่งที่ไม่ดี พลังดำต่างๆ คืนสู่ธรรม และตั้งปณิธานดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามธรรม



ความเชื่อความหมายของดำ

๑. ไก่ดำ ความหมายคือ คุ้ยเขี่ย ทำมาหากิน ค้าขายดี
๒. เหล้า ความหมายคือ ความกล้าในการเสี่ยง กล้าตัดสินใจ หรือการลงทุนที่ดี
๓. กาแฟดำ ความหมายคือ คิดอะไรก็สมหวัง
๔. เฉาก๊วย ความหมายคือ ความใจเย็น มีความคิดรอบคอบ
๕. ถั่วดำ ความหมายคือ ความเจริญรุ่งเรือง
๖. ข้าวเหนียวดำ ความหมายคือ ความเหนียวแน่นในเรื่องการเงิน และความรักในครอบครัว
๗. ขนมเปียกปูน ความหมายคือ การปูนบำเน็จรางวัล และความสำเร็จในโชคลาภ
๘. ไข่เยี่ยวม้า ความหมายคือ การวิ่งเต้นหรือการติดต่อ ให้ได้รับความสำเร็จ



พระราหูเลข ๘

เวลาเราถวายสิ่งของแด่องค์พระราหู ทำไมต้องเป็นของ ๘ อย่าง มีความเป็นมาว่า ท่านอยู่ในดาวนพเคราะห์ลำดับที่ ๘ ฉะนั้น จึงถวายสิ่งของต่างๆ ๘ อย่าง และประเทศจีนถือตัวเลข ๘ เป็นเลขมงคล

พ่อราหู เทพขจัดเคราะห์ภัย หนุนเสริมสิริมงคลชีวิต ธุรกิจ หน้าที่ การงาน
มีปัญญา ขจัด หนุน เสริม ป้องกัน สะเดาะห์ แก้ สมาน


๑. สีดำ : สะเดาะห์ ขจัด เคราะห์ภัย
เคราะห์ คือ กรรมวิบากที่เราได้ทำมาแล้วที่จะส่งผล
๑. สร้างเคราะห์ คือ เคราะห์ไม่มี แต่ไปสร้างให้มี
๒. เสริมเคราะห์ คือ ตัวอารมณ์เป็นเหตุนำไปสู่การเสริมเคราะห์
๓. เคราะห์เลี่ยงได้ คือ ไม่สร้างเหตุให้เกิดเคราะห์
๔. ไม่มีเคราะห์ คือ ไม่ได้สร้างกรรมวิบาก


การแก้เคราะห์ ต้องแก้ทางรูปและทางนาม
แก้เคราะห์ทางนาม คือ ทำพิธีเตือนสติ
แก้เคราะห์ทางรูป คือ เตือนการใช้อารมณ์ เรามีเคราะห์ต้องไปแก้เหตุแห่งการเกิดเคราะห์
๑. ตัวอารมณ์เป็นต้นเหตุแห่งเคราะห์
๒. มกหมุ่น


ภัย ๑๐ ประการ

๑.๑ ราชภัย คือ ภัยจากทางราชการ เช่น ถูกจับกุมไปดำเนินคดีในโรงศาล ถูกตัดสินจำคุก ปรับให้เสียเงิน สั่งประหารชีวิต ลดตำแหน่ง ให้ออกจากงานราชการ สั่งพักงาน เป็นต้น

๑.๒ โจรภัย คือภัยจากโจรผู้ร้าย ในลักษณะโจรกรรมทรัพย์ ๑๔ อนุโลมโจรกรรม ๓ ฉายาโจรกรรม ๒ มีดังนี้
๑.๒.๑ โจรกรรม คือ วิธีการที่ผู้ร้ายใช้ในการเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๑๔ วิธีด้วยกัน ดังนี้
๑) ลัก ได้แก่ การขโมยทรัพย์ของคนอื่นที่เจ้าของเขาไม่เห็น มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้
ก. ขโมย ในเวลาเงียบเห็นเขาตากผ้าไว้ ไม่ให้เจ้าของรู้ หยิบเอาของเขาไป
ข. ย่องเบา เวลาสงัดคน แอบเข้าไปในบ้าน หยิบฉวยเอาของต่างๆ ไป
ค. ตัดช่อง งัดหรือเจาะประตูหน้าต่างที่ปิดช่องอยู่ แล้วหยิบเอาของเขาไป
๒) ฉก ได้แก่ การถือเอาของในเวลาเจ้าของเผลอ มีชื่อเรียกต่างกันตามอาการ ดังนี้
ก. วิ่งราว คนถือเอาของมากำลังเผลอ เข้าแย่งแล้ววิ่งหนีไป
ข. ตีชิง ตีเจ้าของทรัพย์ให้เจ็บตัว แล้วถือเอาของไป
๓) กรรโชก แสดงอำนาจ หรือใช้อาวุธให้เขากลับแล้วให้ของ เรียกว่า ขู่ หรือจี้
๔) ปล้น ได้แก่ รวมพวกกันหลายคน มีศาสตราวุธเก็บเอาของผู้อื่นด้วยอำนาจ
๕) ตู่ คือ อ้างกรรมสิทธิ์ ยืนยันเอาของคนอื่นมาเป็นของตน
๖) ฉ้อ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น เช่น รับของแล้วโกงเสีย อ้างว่าเป็นของของตน
๗) หลอก ได้แก่ กิริยาที่พูดปด เพื่อถือเอาของของผู้อื่น
๘) ลวง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาของผู้อื่น ด้วยแสดงของอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าใจผิด เช่น ใช้เครื่องชั่งเครื่องตวงโกง
๙) ปลอม ได้แก่ กิริยาที่ทำของปลอมให้คนอื่นเห็นว่าเป็นของแท้ แล้วแลกเปลี่ยนเอาทรัพย์ไป
๑๐) ตระบัด ได้แก่ กิริยาที่ยืมของคนอื่นไปใช้ แล้วเอาเสีย เช่น ยืมของแล้วไม่ส่งคืน กู้เงินเขาแล้วเบี้ยวไม่ส่งดอก
๑๑) เบียดบัง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาเศษ เช่น ท่านใช้ให้ไปเก็บเงินค่าเช่าบ้าน เป็นต้น ได้มากแต่ให้ท่านน้อย
๑๒) ลักลอบ ได้แก่ กิริยาที่ลักลอบเอาของที่ต้องห้ามหลบหนีภาษี เช่น สินค้าเถื่อน เป็นต้น
๑๓) สับเปลี่ยน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของตน ที่เลวเข้าไว้แทน แล้วเอาสิ่งของที่ดีของผู้อื่น
๑๔) ยักยอก ได้แก่ กิริยาที่ยักยอกทรัพย์ของตน ที่จะต้องถูกยึด เอาไว้เสียที่อื่น
๑.๒.๒ ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม ข้อนี้ ได้แก่ การแสวงหาทรัพย์พัสดุในทางไม่บริสุทธิ์ แต่ไม่นับเข้าในอาการเป็นโจร มีประเภท ดังนี้
๑) สมโจร ได้แก่ การกระทำอุดหนุนโจรกรรมโดยนับ เช่น รับซื้อของโจร ข้อนี้เป็นปัจจัยแห่งโจรกรรม
๒) ปอกลอก ได้แก่ การคบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ ด้วยหวังทรัพย์ของเขาฝ่ายเดียว เมื่อเขา สิ้นเนื้อประดาตัว ก็ทิ้งขว้าง ข้อนี้เป็นปัจจัยให้คนตกยาก
๓) รับสินบน ได้แก่ การถือเอาทรัพย์พัสดุที่เขาให้เพื่อช่วยทำธุระให้เขาในทางที่ผิด เช่น ข้าราชการรับสินบนจากประชาชน ข้อนี้เป็นปัจจัยให้บุคคลประพฤติผิดทางธรรม

๑.๒.๓ กิริยาเป็น ฉายาโจรกรรม ข้อนี้ ได้แก่ การทำพัสดุของผู้อื่นให้สูญเสีย และเป็นสินใช้ ตกอยู่แก่ตน มีประเภท ดังนี้
๑) ผลาญ ได้แก่ กิริยาที่ทำความเสียหายแก่ทรัพย์พัสดุของคนอื่น เช่น เผาบ้าน ฟันโค ฟันกระบือ เป็นต้น
๒) หยิบฉวย ได้แก่ การถือเอาทรัพย์พัสดุของผู้อื่นด้วยความมักง่าย ไม่บอกเจ้าของ คิดเอาเองว่า เจ้าของไม่ว่าอะไร

๑.๓ อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดแต่ไฟ
๑.๓.๑ ภัยที่เกิดจากไฟภายนอก คือ ไฟไหม้ ไฟป่า ไฟฟ้า ไฟเตา ไฟธูปเทียน เป็นต้น
๑.๓.๑ ภัยที่เกิดจากไฟภายใน คือ ไฟราคะหรือโลภะ ไฟโทสะหรือโกธะ ไฟโมหะ

๔. วาตภัย คือภัยที่เกิดแต่ลม มีลมภายนอก กับลมภายใน
๔.๑ ลมภายนอก เช่น ลมใต้ฝุ่น พายุ ลมที่มากับฝนอย่างรุนแรง เป็นต้น
๔.๒ ลมภายใน เช่น ลมปากของคนอื่นที่ใช้วาทศิลป์กล่อมให้เราเชื่อจนเสียทรัพย์ไป ลมในท้อง ลมจุกเสียดแน่น เป็นต้น

๕. อุทกภัย คือภัยที่เกิดแต่น้ำ มีน้ำภายนอกกับน้ำภายใน
๕.๑ น้ำภายนอก เช่น น้ำป่าไหลหลากมา น้ำฝนที่ตกลงมาอย่างแรง เป็นน้ำหนอง เป็นคลอง น้ำลายก่อเหตุ น้ำท่วมปอด น้ำเยอะเกินไป เป็นต้น
๕.๒ น้ำภายใน คือ สภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ หรือเป็นกิเลสดุจน้ำท่วมพาผู้คนตกไปให้พินาศย่อยยับ ดังนี้
ก. กาโมฆะ คือ ลุ่มหลงมัวเมา เพลิดเพลินในรสแห่งกามคุณ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ข. ภโวฆะ คือ ความอยากมี อยากเป็น ติดใจในภพ
ค. ทิฏโฐฆะ คือ ยึดติดในความคิด ในทิฏฐิของตน
ง. อวิชโชฆะ คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม
ถ้าน้ำเหล่านี้เกิดท่วมจิตใจที่เป็นกุศลจิตแล้ว ก็ย่อมรับโทษเป็นช่วง ๆ ไป

๖. วิวาทภัย คือ ภัยที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท การทะเลาะวิวาท เกิดจากต่างคนต่างก็มีอารมณ์เสียด้วยกัน ความเห็นขัดแย้งกัน ผลประโยชน์ขัดกัน เป็นต้น   




 15,202 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย