ความเป็นผู้มี "มลทิน"


<
ความเป็นผู้มี "มลทิน"

มลทิน คือ ข้อตำหนิของอธรรม เครื่องทำให้มัวหมอง เปรอะเปื้อน มี ๙ อย่าง คือ

๑. โกธะ คือ ความโกรธ

๒. มักขะ คือ ความลบหลู่คุณท่าน เช่น อกตัญญู เขาทำดีกับเราแล้วบอกว่าเขาไม่ได้ทำดี เป็นการกล่าวหาปรักปรำ

๓. อิสสา คือ อิจฉาเป็นกลางๆ ทำให้เกิดมานะ จะทำดีต่อเขาก็ได้หรือจะทำร้ายเขาก็ได้ ส่วนคำว่า "ริษยา คือ เห็นเขาได้ดีตนเองทนอยู่ไม่ได้ ต้องทำร้ายเขา แกล้งอีกฝั่งหนึ่งให้เขาอยู่ไม่ได้

ริษยาเป็นรถนำเราไปได้ถึงขุมนรก ๑๘ ขุม ถึงนรกอเวจีเลยทีเดียว เช่น พระเทวทัต เป็นต้น

๔. มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่

๕. มายา คือ มารยา ยิ้ม คือ มารยา

๕.๑ มิจฉามารยาท คือ ยิ้ม

๕.๒ สัมมามารยาท คือ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักที่ต่ำที่สูง

๖. สาเถยยะ คือ ความโอ้อวดหลอกเขา การที่จะดูว่าเขาอยู่ในภูมิไหน

หนูลักกินของ ไม่เป็นความผิด เพราะเป็นปกติของหนู แต่ถ้าเป็นหนูบริวารของพ่อพระพิฆเณศไม่ได้ ถือว่าผิด เพราะภูมิแตกต่างกัน

๗. มุสาวาท คือ การพูดปด

คำหยาบ คือการกล่าวหาใส่ร้าย

ส่อเสียด คือ เหน็บแนม

เพ้อเจ้อ คือ พูดไปไม่มีหลักการ สิ่งที่บ่งชี้ว่าจะเพ้อเจ้อคือมีหลักการหรือไม่มีหลักการ

๘. ปาปิจฉา คือ ความปรารถนาลามก คือ ต้องการเข้าไปยึดครอง

ลามก คือ แสดงสิ่งที่สังคมรังเกียจ ไม่ควรทำ คือ คนดีมีคุณธรรม ไม่ทำสิ่งที่สังคมนั้นๆ เขาไม่ทำกัน

๙. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด

มลทินนี้ยังแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. มลทินจริง คือ เจ้าตัวเป็นไปตามธรรมนั้นจริงๆ

๒. มลทินปลอม คือ ถูกยัดเหยียด โดนกล่าวหา ถูกปราบปราม กลั่นแกล้ง

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   




 6,659 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย