อารมณ์เป็นของกู เดือดร้อน ฉิบหาย
อารมณ์เป็นของกู เดือดร้อน ฉิบหาย
"อารมณ์เป็นของกู กูเป็นอารมณ์ ไม่เจ็บก็บ้า เดือดร้อน ฉิบหาย"
อารมณ์เป็นของกู เรารู้สึกยังไง? แล้วตัวข้างในอารมณ์มีอะไร? ก็มี "ตัวอัตตา" อัตตาตัวนั้นคืออะไร? ก็คือ ตัวอหังการ ใครๆ ก็มาอยู่ใต้อารมณ์ของกู
อารมณ์กู คือ อารมณ์เป็นใหญ่ อารมณ์อหังการ สิ่งที่ทำลายเราไม่ใช่ตัวอารมณ์ แต่เป็นตัวอหังการ บวก(+) อารมณ์ ที่ซ่อนอยู่ในอารมณ์
พอเราเกิดอหังการ คำต่อไปคือ
"อารมณ์เป็นของกู" "กูเป็นอารมณ์"
พอกูเป็นอารมณ์ เราก็โดนอารมณ์ควบคุมล่ะ พอเราเกิดอหังการ เราไปโดนตัวกระทบระหว่างอายตนะแล้วเราไปยึด ยึดติดแล้วไปหลงใหลไปตามอารมณ์นั้นๆ แล้ว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ แต่ควบคุมได้ด้วยอารมณ์อหังการ
คนทั่วไปชอบบอกว่าอารมณ์เราควบคุมไม่ได้ อันที่จริงควบคุมได้ แต่ควบคุมด้วยอหังการ ขนาดเวลานั้นเราควบคุมได้ แต่เอาตัวอะไรควบคุม คือ ตัวอหังการของเรา ใช้ตัวอหังการควบคุม
พอตัวนี้ประกาศเป็นของกูแล้ว เขาใช้ตัวอหังการควบคุมอารมณ์เสร็จแล้ว ประกาศศักดา กูก็เป็นอารมณ์ตัวนี่แหละ เป็นหนึ่งเดียวกับอหังการล่ะ เป็นหนึ่งเดียวกับ "อำนาจ" จะใช้อำนาจ เราลองสังเกตดูว่าพอเราใช้ตัวอำนาจลงไป สมมติว่าคนนี้เขาเป็นผู้ใหญ่ เช่น คุณครู ครูไก่บอกว่านักเรียนว่า "นี่ครูนะ นักเรียนต้องฟังครู" "เอ็งต้องฟังกู" "กูเป็นพ่อนะ มึงต้องฟัง" "กูเป็นแม่นะ มึงต้องฟัง" เห็นมั้ย "ใช้ความเป็นใหญ่"
"กูเป็นแม่นะ มึงเป็นลูกทำอย่างนี้ไม่ได้" เขาจะแสดงออกมาทางอารมณ์ แล้วเขาก็จะเป็นตัวควบคุมอารมณ์ อารมณ์เป็นเครื่องมือถูกเขาใช้ (ถูกอหังการใช้) เราไม่ได้ไปควบคุมอารมณ์ แต่อารมณ์มาควบคุมเรา ถูกตัวอหังการควบคุมไปแล้ว อารมณ์ตัวนี้กลายเป็นมีด กลายเป็นอาวุธ กลายเป็นอะไรต่างๆ ของอหังการ ของอัตตาเขาแล้ว
เริ่มจากอัตตามาเป็นอหังการ แล้วคอยควบคุมอารมณ์ จึงเกิดแสนยานุภาพ คนเข้าใจผิดว่าไปควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แต่ไม่ใช่ แต่นี่ลึกเข้าไปอีก ๓ ขั้น ส่วนใหญ่เราจะบอกว่าเราควบคุมอารมณ์ แต่นี่ไม่ใช่ กลายเป็นว่าตัวตนเราขึ้นมาแล้วควบคุมอารมณ์ เลยทำให้เอาอารมณ์ไปใช้ คือ พูดง่ายๆ ว่าเวลานี้กลายเป็นว่า "อารมณ์เป็นตัวมาสนองตัวอหังการ" ก็กลายเป็นเพิ่มไปอีกสิ ก็แล้วแต่ว่าเราอหังการแล้วเราบวกอะไรเพิ่มไปอีก
ถ้าสมมติว่าเราเป็นผู้มีอำนาจ "ยิงแม่ง!! ประหารเลย!!"
สมมติว่าเราเป็นครูใหญ่ "ปลดแม่ง!! เลย โรงเรียนนี้ไม่ให้เรียนล่ะ" เขาจะใช้อำนาจเข้าไปล่ะ
ไปถึงตัวในสุด เราต้องรู้ว่าเกิดจากตัวอะไรก่อน ทำไมตัวอหังการจึงเกิดขึ้นได้ ทำไมเป็นใหญ่ได้ คือ ตัวสำคัญตนผิด
(มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาเยาะเย้ยเด็กอายุ ๕ ควบ เพราะเด็กทำผิด) ตะกี้สำคัญตนผิดว่าตนเป็นคนรู้ หัวเราะน้องคนนั้นตลอด เอามาเล่าสู่กันฟัง เลยหัวเราะใส่เด็ก ที่จริงกำลังเย้ยหยันเขา เจ้าเรือนไม่รู้ตัว แต่ความเป็นอหังการเขาใช้อารมณ์ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการหัวเราะใส่เด็ก ใครบอกว่าอารมณ์จะต้องโมโหโทโสเท่านั้น ไม่ใช่นะ เยาะเย้ยก็เป็นอารมณ์ตัวหนึ่ง ถากถาง ปามีดบิน แม้แต่ยกยอ เป็นตัวอหังการ เพราะว่าบรรลุสมอารมณ์หมายเราเราจึงยกยอเขา เพราะเราสำคัญตนผิดว่าเราเป็นผู้รู้เราจึงหัวเราะ พอเราหัวเราะออกไปเป็นเสียงเย้ยหยัน ทำไมจึงมีการเยาะเย้ยถากถาง เพราะสำคัญตนผิด
เราไม่ควบคุมตัวตน (อัตตา) เราไปควบคุมอารมณ์ แล้วเราเอาตัวอะไรไปควบคุมอารมณ์ เราเอาตัวอัตตานี้ไปควบคุมอารมณ์แล้วจะไปเหลือเหรอ
เวลานี้เราไปควบคุมอารมณ์ ต้องดูว่าจะเอาตัวอะไรไปควบคุมอารมณ์ เราเอาตัวตนตัวนี้ไปควบคุมอารมณ์ อารมณ์ตัวนี้กลายเป็นอารมณ์แห่งอหังการ อารมณ์ตัวนี้ก็จะก่อปัญหาขึ้นมา เราต้องดูว่าเราเอาอะไรไปควบคุมอารมณ์ สมมติว่าเวลานี้ เอาตัวจิตมุฑิตาไปควบคุมอารมณ์ อารมณ์ตัวนั้นจะเป็นอารมณ์ที่มงคล อยู่ที่ว่าเราจะเอาตัวไหนไปควบคุมอารมณ์และใส่ไปในอารมณ์ ไม่ใช่ว่าเราบอกว่าเราจะเอาอะไรไปควบคุมอารมณ์ ต้องดูลึกลงไปว่าเราเอาตัวอะไรเข้าไป
วันนี้เราเกิดอารมณ์ซึมใช่มั้ย แล้วทำไมถึงซึมเพราะว่าเราไม่ได้ดูตัวอะไรเข้าไปใส่ในอารมณ์ เราเอาตัวซึมใส่เข้าไปในอารมณ์ แล้วตัวนั้นมาจากไหน มาจากตัวง่วง พอเรามีตัวง่วงปั้บ ตัวซึมก็จะมา แล้วตัวง่วงมาจากไหน เกิดมาจากความรัก ความเพลีย ร่างกายเรา อินทรีย์เราไม่ได้ฝึกมาพอ สิ่งนั้นก็ตอบสนองทางเพลีย ในทางล้า ทีนี้เรารู้ว่าล้า ที่นี้อยู่ที่ตัวให้ความสำคัญล่ะ ถ้าเราให้ความสำคัญเราก็ต้องไปเข้าห้องน้ำจัดการกับความล้าก่อน พอเราจัดการกับความล้า ความล้าก็จะลดลงแล้ว เราก็ถึงจะออกมา เราถึงจะไม่มีอาการง่วง พอเราไม่เห็นความสำคัญเราก็จะปล่อยมันไป ก็อยู่ที่ว่าเวลานั้นเป็นอะไร เวลานี้อยู่ตรงไหน ทำอะไร เวลานี้เราอยู่ในหน้าที่มั้ย เช่น เวลานี้เรามานั่งกินอาหารกับแฟนแล้วเรามาแสดงความล้าความง่วงอย่างนี้ไม่ไหว เขาก็จะเกิดความเข้าใจผิด เช่น ถ้าเราเกิดความล้าเราไม่จัดการความล้าก่อน แล้วเราไปขับรถ เราก็ตายห่า
ฉะนั้น เราต้องรู้จักหน้าที่ว่าตอนนี้เราอยู่หน้าที่อะไร หน้าที่ตรงนี้ พอเราไม่รู้จักหน้าที่ปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามหน้าที่ นั่นแหละ คือมาแล้ว อาถรรพ์เกิดแล้ว เราง่วงเราไม่ขจัดความง่วงก่อนเราไปขับมอเตอร์ไซค์ออกไปเจอรถก็โดนเชี่ยว เพราะเราไม่ให้ความสำคัญกับชีวิตเรา ถ้าเราให้ความสำคัญกับชีวิตเราแล้วเราจะประมาทมั้ย ก็ไม่ประมาทจะรักตนเอง นี่แหละคือการก่อเคราะห์กรรม สิ่งที่ควรจะหยุดไม่หยุด สิ่งที่ควรจะกระทำไม่กระทำ สิ่งที่ควรจะแก้ไขก่อนไม่แก้ นี่แหละอารมณ์กู สำคัญตนเองผิด อวดเก่ง พอโดนเข้าไปกลับมาคิดว่าเมื่อตะกี้ไม่น่าทำเลย
เราต้องเข้าใจอารมณ์ เราจะเอาตัวอะไรไปควบคุมอารมณ์
อารมณ์เป็นของกู ใครเป็นคนประกาศคำนี้ อหังการเป็นคนประกาศ สมมติว่า "อารมณ์เป็นของกู" เป็นตัวอหังการ บทบาทของอารมณ์ก็จะแสดงออกมาถึงอหังการ ฯลฯ
สมมติว่า อารมณ์มุฑิตา อารมณ์เป็นของกู กูตัวไหน กูตัวมุฑิตาจะออกมานุ่มนวล เราต้องดูก่อนว่าเราจะเอาตัวอะไรไปควบคุมอารมณ์ อย่าหลงกลว่า ควบคุมอารมณ์คือควบคุมอารมณ์ เลยไปปล่อยเจ้าตัวอหังการไปควบคุมอารมณ์ เกิดปัญหาแน่ๆ เราต้องดูก่อนว่าเราเอาอะไรไปควบคุมอารมณ์ ฉะนั้น เราต้องดูตัวนี้มากกว่าไปดูอารมณ์ อารมณ์ตอนนั้นมันเกิดเป็นผลออกมาแล้ว เราต้องดูว่าเราจะเอาอะไรไปควบคุมอารมณ์ ถ้าเราเอาตัวอหังการไปควบคุมอารมณ์จะกลายเป็นว่า "อารมณ์เป็นของกู คือ อารมณ์อหังการ" เราก็จะเกิดปัญหาความวุ่นวายแน่ๆ แต่พอเราไปบวกเสร็จแล้วเราไปประกาศว่า กูเป็นอารมณ์นั้น เข้าสิงเลย
ก็อยู่ที่เราจะเอาตัวไหน จะต้องเอาตัวไหวพริบปฏิภาณมันเชื่อมกัน ไหวพริบต้องรู้ก่อนว่ามันเกิดอะไรขึ้นก่อน ปฏิภาณถึงจะมีปัญญาตัวหนึ่งที่รีบเอาออกมาใส่เข้าไปในสัมปชัญญะ สัมปชัญญะถึงจะกลั่นกรองออกมา ว่าเราจะเอาตัวอะไรไปบวกตัวนั้น ตัวนั้นผลที่ตามมาคืออะไร พอเราเอาตัวนี้เข้าสู่สัมปชัญญะ ตัวพิจารณากรรม ๕ ตัวพิจารณาวิบาก ๗ ก็จะแผลบๆ ออกมา ก็จะแสดงออกมาเลยว่า ถ้าเราเอาตัวนี้ไปบวกแล้วผลที่ตามมาจะเป็นอะไร ทุกตัวเชื่อมโยงกันหมด
ตัวอะไรที่จะมาควบคุมตัวควบคุม
ถ้าเราไล่ไปจนถึงสุดท้ายเราจะมาเจอต้นๆ ก็จะมาเจอ "ปฏิภาณ" กับ "ไหวพริบ" แล้วก็จะส่งต่อ "สัมปชัญญะ" เป็นผู้ตัดสิน พิจารณาว่าจะเอาตัวไหน จะเอาตัวอะไร ตัวนี้คืออะไร สมมติว่าเวลานั้นเป็นตัวนี้ เป็นตัวอหังการมาควบคุม ตายห่าล่ะมันผิด สัมปชัญญะก็จะเตือนเราว่า "มันผิดแล้วนะ เราให้อหังการควบคุมอารมณ์เรา แย่นะ" ตัวนี้ก็ต้องรีบกลั่นกรองล่ะ รีบแก้ล่ะ แล้วจะเอาตัวอะไรไปแก้ ก็จะส่งกลับมาให้ตัวปฏิภาณอีกล่ะ ปฏิภาณก็จะเลือกเอาวิธี เลือกเอาปัญญาข้อไหนไปแก้
ไหวพริบปฏิภาณ ว่าจะต้องเจอกับอะไร ถ้าเราไม่รู้ว่าเกิดอะไรเราจึงไม่มีไหวพริบปฏิภาณ เวลานั้น เราเยาะเย้ยถากถางตัวเรายังไม่รู้เลย เวลานั้นเราหัวเราะเยาะใส่เด็ก ภูมิเวลานั้นต่ำกว่าเด็กอีก
๑. มีสิ่งมากระทบ ตัวปฏิภาณไหวพริบก็จะมาดูว่าตัวนั้นคืออะไร แล้วมากระทบเกิดอะไรขึ้น แล้วก็จะมาส่งให้สัมปชัญญะพิจารณา
๒. ปฏิภาณไหวพริบ จะมารู้ว่าเกิดอะไรขึ้น พอรับรู้แล้ว รู้แล้วก็ต้องรีบมาส่งให้กับตัวสัมปชัญญะ
๓. สัมปชัญญะ + โยนิโสมนสิการ + กรรม ๕ (ทำ ทำไม ทำไมถึงทำ ผลขณะกระทำ ผลที่ตามมา ผลที่แท้จริง) พิจารณาวิบาก ๗ (ชอบธรรม สมควร เหมาะสม บุคคล สถานที่ การณ์ และ กาลเวลา) และปัญญาอีกหลายตัวเลย แล้วตัวนี้จะส่งกลับมาให้กับตัวนี้
๔. ส่งมาให้กับปฏิภาณไหวพริบ ปฏิภาณก็จะนำปัญญาพวกนี้ไปจัดการ
สมมติว่ตัวนี้ไม่ดีล่ะ ได้รับคำเตือน ก็จะเข้าไปตัดสินล่ะ ก็จะไปตัดออก ไม่เอาๆ คือ ไม่เอาตัวอหังการมาคุมล่ะ ไม่ได้เป็นตัวตัดสิน แต่เป็นตัวรับรู้แล้วก็ส่งไปให้ตัวสัมปชัญญะพิจารณาว่ามันคืออะไร เหมือนกับหมอมาเจอฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำบัตร อันนี้เป็นคนไข้ก็ส่งไปให้หมอ หมอก็จะมาดูว่าเป็นอะไร วินิจฉัยว่าเป็นอะไรก็จะส่งไปรักษา เอ็กซเรย์ ฉีดยา ฯลฯ ไปโน้นไปนี่ ตัวนี้ก็จะรับปัญญามา ก็จะมาควบคุมตัวนี้
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์