จิตอันเป็นมหากุศล


จิตอันเป็นมหากุศล

อเหตุกจิต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ หมายถึง ธรรมชาติที่ทำให้ผลเกิดขึ้น มี ๒ จำพวก คือ เหตุที่ทำให้เกิดอกุศลกรรม (อกุศลเหตุ) และเหตุที่ทำให้เกิดกุศล (กุศลเหตุ) นี่คือจิตประภัสสร คือ จิตดั้งเดิมนั่นเอง

อเหตุกกิริยาจิต คือ เป็นจิตที่เกิดขึ้นสักแต่ว่ากระทำหน้าที่ของตนเท่านั้น ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป และไม่ใช่จิตที่เป็นผลของบุญหรือผลของบาป เป็นจิตไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล นี่แหละ เป็นจิตดั้งเดิม เป็นจิตในธรรม

จิตที่มีปัญญาที่ออกจาก หลุดจาก การควบคุมจากกิเลสตัณหาทั้งหลายทั้งปวง นี่คือจิตมหากุศล

มีปัญญารู้เท่าทันแห่งกิเลสตัณหา จึงไม่ถูกกิเลสครอบงำ จึงจะเป็นจิตมหากุศล จิตที่มีปัญญาที่ไม่ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ

จิตมหากุศลจะดำรงมหากุศลอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าเราจะทำหรือไม่ทำ จิตก็จะดำรงความเป็นมหากุศลอยู่แล้ว

แม้ว่าเราจะทำบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา อปจายนะ เวยยาวัจจะ ปัตติทาน ปัตตานุโมทนา ธรรมสวนะ ธรรมเทศนา และทิฏฐุชุกรรม

ถ้าเราไม่มีจิตที่มีปัญญาที่ไม่ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ ถึงแม้เราจะไปทำบุญด้วยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างนี้ แต่ถ้าเราไม่มีจิตที่มีปัญญาก็จะถูกครอบงำ จึงไม่เกิดจิตมหากุศล เราก็จะไปยึดว่าเราทำดีตั้ง ๑๐ อย่าง แล้วจะเป็นจิตมหากุศลได้อย่างไร เพราะจิตเรายึดติดแล้ว

เหตุที่ทำให้เกิดมหากุศลจิต คือ จิตที่ใฝ่มีวิชชา จิตที่มีปัญญาไม่ถูกครอบงำ คือ จิตที่ประกอบด้วยวิชชา

ถ้าเราทำบุญ ๑๐ อย่างข้างต้น ไปยึดติด เราก็จะไม่ได้บุญกุศล จิตทำด้วยมหากุศล แต่ไม่ได้รับมหากุศล เหมือนกับหมั่นทำบุญแต่ก็ตกม้าตายตอนสุดท้าย

ถ้าเรามีจิตตถตา แล้วมาทำบุญกุศลแล้วจึงจะได้มหากุศลจิต แต่ถ้าเราไม่มีตถตาแล้วเรามาทำ ทำดีแล้วเราก็จะยึด ถ้าเราทำดี ๑๐ อย่าง แล้วมายึด ๑๐ อย่าง แล้วจะไปมหากุศลจิตได้อย่างไร

ฉะนั้น เราทำด้วยจิตมหากุศลแต่ไม่ยึดติดมหากุศล

เหมือนกับด้ายที่เกิดปมแล้วจะร้อยผ่านรูเข็มได้อย่างไร มันไม่ได้ ฉะนั้น เราทำดีแล้วต้องวาง เรายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ แม้แต่ทำกุศล ถ้าเราทำกุศลยึดมั่นถือมั่นก็ไปไม่รอด

ฉะนั้น เราต้องมีวิชชา มีความเข้าใจไหม ถ้าเราไม่มีความเข้าใจ ก็จะหลงเกมส์

เวยหล่าง ได้ฟังธรรมจากชายตัดฟืน ได้บรรลุอรหันตมรรค พอไปพบกับสมเด็จพระสังฆราช จึงจะได้อรหันตผล

เส้นทางประกอบของท่านคือ ทำมรรค ๆๆๆ สะสมความเป็นปัญญา มรรค ๆ ๆ แล้วจะเกิด มรรคผล มรรคผล มรรคผล พอไปถึงตรงนั้นสรุปเป็นข้อใหญ่แล้ว จึงจะเป็นผล

พระสังฆราชให้เว่ยหล่างไปอยู่ในโรงครัวหลายปี เพราะฝึกลดทิฏฐิของเว่ยหล่างเอง ลดความมานะของเขา กิเลสของเว่ยหล่างเป็นกิเลสที่ละเอียดมากๆ คือ อนุสัย แม้ว่าเป็นอรหันตมรรค เพราะว่าเดี๋ยวจะยึดอรหันตมรรค ถ้าเราไปยึดมรรค ยึดผล เราก็ไม่สามารถเข้าสู่ความเป็นอรหันต์ได้ เหมือนกับด้ายที่มีปม

แม้ว่าเราได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว แล้วเราฝึกตบะพอหรือยัง เราถ้าฝึกตบะยังไม่พอก็กลายเป็นมรรค จึงกลายเป็นว่า มรรคเป็นปม ถ้าเชือกเป็นปมเราจะร้อยผ่านรูได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ ฉะนั้น เราต้องไปแก้ตัวปมออกก่อน จะเป็นมรรค ผล มรรค ผล วนอย่างนี้ แต่ไม่ใช่ผลตัวใหญ่ ตัวสุดท้าย ถ้าตัวเป็นผลตัวสุดท้ายจะเรียกว่า อริยมรรค อริยผล

ทุกขั้นตอนเป็นอย่างนี้ พอสุดท้ายแล้วก็เป็นอริยะ พอได้อริยะแล้วสรุปเป็นข้อใหญ่แล้วจึงจะขึ้นหนึ่งขั้น ขึ้นไปก็จะไปประกอบใหม่อีก แล้วก็ทำแล้วก็ประกอบใหม่ สรุปเป็นอริยผลล่ะ สุดท้ายจึงจะเข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์

ถ้าเราจะลดละอนุสัยได้เราต้องเข้าสู่ความเป็นภาวะตถตา จึงจะหลุดจากอนุสัยได้ กิเลสที่ละเอียดได้

มหาวิปากจิต คือ จิตเราเปรียบเสมือนกับน้ำเปล่า พอเราเอาชาใส่ลงไป ก็จะเกิดมหาวิบากแล้ว ทำดีที่ยิ่งใหญ่ กับทำชั่วที่ยิ่งใหญ่ จึงเป็นมหาวิบากจิต เป็นอนันตริยกรรม กับคุรุกรรม

วิบากจะมีอยู่ ๓ ตัว คือ จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล และจิตที่เป็นกลางๆ อัพยากฤต เป็นหลัก

แม้ว่ากลางๆ ก็ต้องมีวิบาก เพราะถ้าไม่มีวิบากก็จะไม่มีกลางๆ เพราะมีวิบากผลจึงเป็นกลางๆ ถ้าไม่มีเหตุวิบากจะมีผลกลางๆ ได้อย่างไร ทั้งหมดจะออกมาได้ ๓ สายหมด แล้วแต่เราจะทำเหตุวิบาก

มหากิริยาจิต คือ รู้แต่ไม่ถูกครอบงำ รู้แต่ไม่ทำเป็นไป สักแต่ว่ารู้แล้วผ่านไป

สมมติว่า พระอรหันต์ไปเจอคนหนึ่งแล้ว มาไหว้ พระอรหันต์ไม่มีคำว่าดีใจ เสียใจ หมายความว่า รับรู้แล้ว เออดี แล้วก็จบ จะไม่เหนี่ยวรั้งไว้ในสมอง เหมือนกับพระที่ไปอุ้มผู้หญิงข้ามน้ำ พออุ้มเสร็จวางลงก็จบแล้ว แต่เณรน้อยยังไปคิดต่ออีก ฉะนั้น จึงไม่เกิดปรากฏการณ์สิ่งหนึ่งที่มาเหนี่ยวรั้งไปครอบงำ พอไม่ครอบงำ ก็ไม่เกิดวิบาก คือ วิบากเกิดการสลายไปโดยธรรม

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
   

7,651







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย